Page 108 - kpiebook63010
P. 108
107
แก้วตา โอภาสศิริวิทย์ (2551) ได้ศึกษาการรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 กรณีศึกษาพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร
(ประกอบด้วยเขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตบางรัก เขตปทุมวันและเขตสัมพันธวงศ์)
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ในรูปแบบการวิจัยแบบสำารวจ โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 355 คน
ในพื้นที่เขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร
ผลการวิจัยพบว่าความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน
และแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยประชาชนมีระดับความรู้ความเข้าใจสูง 158 คน หรือร้อยละ 44.5 ซึ่งเป็นประชาชน
ที่อาศัยอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ เขตปทุมวัน เขตบางรัก และเขตราชเทวี ขณะที่ประชาชน 132 คนหรือร้อยละ 37.2
มีระดับความรู้ความเข้าใจปานกลาง ซึ่งเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
และ ประชาชน 65 คนหรือร้อยละ 18.3 มีระดับความรู้ความเข้าใจตำ่า
สำาหรับหลักเกณฑ์การเลือก ส.ส. ประชาชนร้อยละ 49.0 เลือกคนมีความรู้ ความสามารถ
โดยไม่สนใจว่าจะสังกัดพรรคการเมืองใด ร้อยละ 46.2 เลือกพรรคที่ชอบโดยเชื่อว่าคนที่พรรคส่งสมัครเป็นคนดี
มีความสามารถ และร้อยละ 4.8 เลือกโดยเหตุผลอื่น ๆ
ในส่วนการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งประชาชนมีระดับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การเมืองจากสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และป้ายหาเสียงของพรรคการเมืองในระดับมาก มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับการเมืองจากสื่อวิทยุ และอินเทอร์เน็ตในระดับปานกลาง และมีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเมือง
จากสื่อเคเบิลทีวีในระดับน้อย โดยประชาชนในแต่ละเขตปกครองได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์
หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี แตกต่างกัน ส่วนการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อวิทยุ
และป้ายหาเสียงพรรคการเมืองไม่แตกต่างกัน ขณะที่ประชาชนมีระดับการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
จากองค์กรเอกชนในระดับปานกลาง จากหัวคะแนนอยู่ในระดับน้อย พรรคการเมือง รัฐบาล กกต. และผู้สมัคร
ส.ส. ในระดับมาก ซึ่งประชาชนในแต่ละเขตการปกครองได้รับข้อมูลข่าวสารการเลือกตั้งจาก กกต. รัฐบาล
พรรคการเมือง ผู้นำาชุมชน หัวคะแนน และองค์กรเอกชนแตกต่างกัน แต่การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การเลือกตั้งจากผู้สมัคร ส.ส. ไม่แตกต่างกัน
สำาหรับปัจจัยส่วนบุคคล งานวิจัยพบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกันมีผลต่อ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ประชาชนที่มีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปจะมีความรู้ความเข้าใจ
ในระดับสูง ส่วนประชาชนที่มีการศึกษาตำ่ากว่าระดับปริญญาตรีจะมีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง
ประชาชนที่มีรายได้ตำ่ากว่า 15,000 บาทต่อเดือน จะมีความรู้ความเข้าใจในระดับปานกลาง ส่วนประชาชน
ที่มีรายได้ตั้งแต่ 15,001 บาทต่อเดือน จะมีความรู้ความเข้าใจในระดับสูง
ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ผ่าน 7 องค์กร โดยการรับรู้ข้อมูล
ข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ผ่าน 6 องค์กร ได้แก่ พรรคการเมือง รัฐบาล กกต. ผู้สมัคร ส.ส.
ผู้นำาชุมชนและองค์กรเอกชน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน
จากหัวคะแนนอยู่ในระดับดับตำ่า