Page 103 - kpiebook63010
P. 103
102 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะทางประชากร ได้แก่ เพศ อายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้
ผลการสำารวจประชามติ แต่ลักษณะทางประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษา อาชีพ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้
ผลการสำารวจประชามติ โดยระดับการศึกษาสูงจะมีระดับการรับรู้ผลการสำารวจประชามติสูงกว่าผู้ที่มีการศึกษา
ตำ่ากว่า ขณะที่ในมิติเรื่องอาชีพนั้นอาชีพรับราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจเป็นกลุ่มที่มีความถี่และมีความสนใจ
ที่จะรับรู้ผลสำารวจประชามติสูงที่สุด แต่กลุ่มอาชีพค้าขายเป็นกลุ่มที่มีความเชื่อต่อผลการสำารวจประชามติ
สูงที่สุด ขณะที่การรับรู้ผลการสำารวจประชามติที่มีลักษณะเป็นการพยากรณ์หรือการทำานายผลการเลือกตั้ง
ในประเด็นต่าง ๆ ไม่ได้มีอิทธิพลทำาให้ผู้รับรู้ผลการสำารวจประชามติดังกล่าว เปลี่ยนทัศนคติของตน
ในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่อย่างใด
การเลือกตั้งทั่วไป 2 กรกฎาคม 2538 (ครั้งที่ 20)
เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลชวน หลีกภัย (ชวน 1) ซึ่งอยู่ในตำาแหน่งตั้งแต่ การเลือกตั้ง
ครั้งที่ 19 ประกาศยุบสภา สืบเนื่องมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกรณีการแจกเอกสารสิทธิที่ดิน สปก
4-01 ที่รับผิดชอบโดยพรรคประชาธิปัตย์ (สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรในสมัยนั้น)
การเลือกตั้งในครั้งนั้น พรรคชาติไทยภายใต้การนำาของ นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้คะแนนเสียงสูงสุด
และเป็นแกนนำาในการจัดตั้งรัฐบาล
เทวินทร์ ขอเหนี่ยวกลาง (2538) ศึกษาเรื่องความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยใช้กรณีศึกษาประชาชน
เขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร (เขตดุสิต บางซื่อ และราชเทวี) โดยเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม
ในการเก็บข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาทั้งหมด 444 ราย เป็นประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปและมีสิทธิ
เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร ใช้การสุ่มตัวอย่างกระจายไปทั้ง 35 หน่วยเลือกตั้ง หน่วยละ
10 - 15 ราย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางประชากรและสังคม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระยะเวลา
การอยู่ในชุมชนการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ปัจจัยทางด้านกระบวนการคิดที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ได้แก่ คนที่ประเมินคุณค่า
ของการเลือกตั้งสูง คนที่มีความศรัทธานักการเมืองมาก คนที่ประเมินว่าได้รับผลประโยชน์จากนักการเมืองมาก
คนที่ประเมินโอกาสได้รับชัยชนะของพรรคการเมืองที่ตนสนับสนุนในพื้นที่ส่วนรวมตำ่า คนที่ประเมินว่าต้นทุน
ที่ใช้ในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งตำ่า โดยกลุ่มผลคือ กลุ่มคนเหล่านี้จะมีความตั้งใจในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูง
ในส่วนประเด็นเรื่องประชากรและสังคม อาชีพผู้ประกอบการ อาชีพอิสระ รับราชการ รัฐวิสาหกิจ
มีความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูง รองลงมาคืออาชีพพนักงานเอกชน อาชีพค้าขาย รับจ้างอิสระ มีความตั้งใจ
ไปเลือกตั้งน้อย ส่วนนักเรียน นักศึกษาเป็นกลุ่มที่มีความตั้งใจไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด
ส่วนเหตุผลที่ทำาให้ไม่อยากไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น 1. เกิดจากความรู้สึกไม่พอใจ
ต่อคุณภาพและพฤติกรรมของนักการเมือง (ไม่ตั้งใจทำางาน ภาพพจน์เรื่องการทุจริต ไม่มีนักการเมืองคุณภาพดีพอ