Page 102 - kpiebook63010
P. 102

101








                          ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บจากประชาชนพบว่า ประเด็นที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งใช้พูดหาเสียงมากที่สุด

                  คือ การกล่าวถึงนโยบายและการแก้ปัญหา สื่อบุคคลเป็นสื่อที่ประชาชนมีโอกาสรับทราบข่าวสารการเลือกตั้ง
                  น้อยที่สุด และเป็นแหล่งข่าวที่ทำาให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยที่สุด ในบรรดาสื่อบุคคลที่มีบทบาททำาให้

                  ประชาชนรับทราบข่าวสารการเลือกตั้งมากที่สุด คือ ผู้สนับสนุน ส.ส. (หัวคะแนน) ส่วนสื่อบุคคลที่ทำาให้ประชาชน
                  ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ ผู้สมัคร สื่อมวลชนและสื่ออื่น ๆ เป็นสื่อที่ประชาชนมีโอกาสได้รับทราบข่าวสาร

                  การเลือกตั้งมากที่สุด และเป็นแหล่งข่าวที่ทำาให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด สื่อมวลชนและสื่ออื่น ๆ
                  ที่ประชาชนมีโอกาสได้รับทราบข่าวสารการเลือกตั้งมากที่สุด และสื่อมวลชนและสื่ออื่น ๆ ที่ทำาให้ประชาชน

                  ไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด คือ สื่อโทรทัศน์ ส่วนวิธีการหาเสียงที่ประชาชนรับทราบว่านิยมใช้มากที่สุด
                  คือ หนังสือเชิญชวน ใบปลิว และแผ่นพับ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่เคยได้รับการติดต่อจากใครเลยภายหลัง

                  การเลือกตั้งสิ้นสุด ประชาชนติดตามการทำางานของ ส.ส. น้อยที่สุด แต่ก็ทราบว่าหน้าที่ของ ส.ส. คือการเป็น
                  ตัวแทนเป็นปากเสียงให้แก่ตนเอง และจะไม่เลือก ส.ส. ผู้นั้นอีกถ้าไม่ได้ทำาตามที่หาเสียงไว้


                          ส่วนผลการสัมภาษณ์ฝั่งผู้สมัครรับเลือกตั้งและผู้สนับสนุนพบว่า ประเด็นที่ใช้พูดหาเสียงกล่าวถึง

                  เรื่องของท้องที่เป็นหลัก เรื่องอุดมการณ์ นโยบายพรรค ผลงาน และโครงการที่จะทำา ผู้สมัครเห็นว่าสื่อบุคคล
                  มีความสำาคัญต่อการรับทราบข่าวเลือกตั้ง และเป็นแหล่งข่าวที่ทำาให้ประชาชนไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่วนวิธีการ

                  หาเสียง ผู้สมัครนิยมใช้วิธีการออกไปเดินหาเสียง และพบบุคคลสำาคัญในเขตพื้นที่ ผู้สมัครมองว่ามีการจัดสร้าง
                  สาธารณประโยชน์ตามแต่ที่ประชาชนจะร้องขอหรือร้องเรียน การติดตามการทำางานของ ส.ส. และการติดต่อ

                  กลับมาทำาได้ทั้งทางตรง เช่น มาพบที่บ้านหรือโทรศัพท์ และทางอ้อม เช่น ผ่านผู้นำาชุมชน เป็นต้น



                          การเลือกตั้งทั่วไป 13 กันยายน 2535 (ครั้งที่ 19)


                          เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องมาจากการยึดอำานาจ

                  โดยการทำารัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)ขึ้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 และมี
                  การเลือกตั้งเมื่อ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งการเลือกตั้งในครั้งนั้นนำาไปสู่การเชิญ พลเอกสุจินดา คราประยูร แกนนำา

                  รสช. ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนและนำาไปสู่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
                  ที่เป็นการชุมนุมประท้วงและขับไล่พลเอกสุจินดา และ สิ้นสุดลงด้วยการปราบปรามประชาชน ต่อมาพลเอกสุจินดา

                  ลาออก และมีการตั้งนายอานันท์ ปันยาชุน ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้น


                          พิธา ถาวรกุล (2537) ได้ศึกษาเรื่อง “อิทธิพลของการรับรู้ผลการสำารวจประชามติที่มีต่อการเปลี่ยน
                  ทัศนคติของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร : ศึกษาเฉพาะกรณี

                  ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร” เพื่อศึกษาว่า ลักษณะทางประชากรอันได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา
                  และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ผลการสำารวจประชามติที่มีลักษณะเป็นการพยากรณ์หรือทำานาย

                  ผลการเลือกตั้งในประเด็นต่าง ๆ หรือไม่อย่างไร และเพื่อศึกษาว่า การที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับรู้ผลการสำารวจ
                  ประชามติที่มีลักษณะเป็นการพยากรณ์หรือการทำานายผลการเลือกตั้งในประเด็นต่าง ๆ นั้น จะทำาให้ผู้มีสิทธิ

                  เลือกตั้งเปลี่ยนทัศนคติของตนเองในการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107