Page 100 - kpiebook63010
P. 100

99








                  สูงอายุ ส่วนผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตำ่า มีการศึกษาตำ่ามักจะลงคะแนนเสียงโดยการชักจูงจากผู้อื่น

                  มากกว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูงซึ่งตัดสินใจเลือกผู้สมัครได้ช้าและมีความเป็นตัวของตัวเอง
                  ในการตัดสินใจน้อยกว่า นอกจากนี้ ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ว่าจะมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ระดับการศึกษา

                  หรืออายุแตกต่างกันอย่างไร ต่างก็มีแนวโน้มจะเลือกตัวผู้สมัครมากกว่าพรรคการเมือง โดยให้ความสำาคัญกับ
                  นโยบายของผู้สมัครมากกว่าเหตุผลประการอื่น แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีการศึกษาสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสูง

                  และมีอายุอยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาวตอนปลาย (26-30 ปี) ก็ยังคงเลือกโดยคำานึงถึงพรรคมากกว่าผู้ที่มีฐานะ
                  ทางเศรษฐกิจและสังคมตำ่าและมีการศึกษาตำ่า


                          ผู้ที่ให้ความสำาคัญกับบุคลิกภาพ ชื่อเสียง นโยบายของผู้สมัคร ลักษณะตำาแหน่งผู้ว่าราชการ

                  กรุงเทพมหานคร ตลอดจนชื่อเสียงของพรรคการเมือง จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งสูงกว่าผู้ที่ไม่ให้ความสำาคัญ
                  ในประเด็นเหล่านี้


                          นอกจากนี้ดูด้วยว่า แบบแผนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
                  เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 มีรูปแบบที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันกับการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรอย่างไร

                  ผลการศึกษาพบว่า แบบแผนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นไปในทำานองเดียวกัน

                  กับแบบแผนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร กล่าวคือ ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและ
                  สังคมปานกลางขึ้นไป มีการศึกษาสูงในระดับปริญญาตรีขึ้นไป จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งด้วยความสำานึก
                  ของตัวเองสูง ตัดสินใจว่าจะเลือกใครได้รวดเร็วและแน่นอนกว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจน

                  การศึกษาตำ่า


                          ประชาชนชาวกรุงเทพฯมีแนวโน้มในการตัดสินใจเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเปลี่ยนมาคำานึงถึง

                  ตัวบุคคลมากกว่าพรรค ซึ่งเป็นแบบแผนพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับชาติ ประชาชนยังคง
                  ให้ความสำาคัญกับนโยบายอยู่ถึงแม้จะเป็นนโยบายของผู้สมัครก็ตาม ทั้งนี้ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
                  ตลอดจนการศึกษาสูงยังคงตัดสินใจเลือกโดยคำานึงถึงพรรคการเมืองในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ

                  และสังคมรวมทั้งการศึกษาตำ่า


                          นอกจากนี้ บุคลิกภาพ ชื่อเสียง และนโยบายของผู้สมัครเป็นปัจจัยสำาคัญที่จูงใจให้ประชาชน
                  ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่เดิมการเลือกตั้งในระดับชาติผู้ไปลงคะแนนส่วนใหญ่ในเขตเมืองไปด้วยสำานึก

                  ว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองดี สำานึกเพียงว่าเลือกให้หมดหน้าที่ของตน ส่วนผู้ลงคะแนนในชนบทมักจะไป
                  โดยถูกระดมมากกว่า ผู้เลือกตั้งไม่ได้คำานึงว่าใครจะชนะ จะมีผลเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือไม่ แต่การเลือกตั้ง

                  ผู้ว่ากรุงเทพฯครั้งนี้ประชาชนให้ความสนใจต่อผลการเลือกตั้ง ซึ่งเข้าใจได้ว่าผู้ลงคะแนนต้องการผลักดันให้บุคคล
                  ที่ตนชื่นชอบเข้าไปบริหารงาน ในขณะที่ชื่อเสียง และนโยบายของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยสำาคัญรองลงมา

                  ส่วนการรณรงค์หาเสียงมีส่วนจูงใจให้ไปใช้สิทธิและตัดสินใจเลือกผู้สมัครไม่มากนัก
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105