Page 98 - kpiebook63010
P. 98
97
การศึกษา อาชีพ ทำาให้เกิดความแตกต่างในระดับความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง สำาหรับปัจจัยที่มีผลกระทบ
ต่อระดับความสำานึกในการเลือกตั้ง ได้แก่ เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ อายุ การศึกษา อาชีพ ทำาให้เกิดความแตกต่าง
ในระดับความสำานึกในการเลือกตั้ง ขณะที่สัญชาติ ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความสำานึกในการเลือกตั้ง
สาเหตุที่ประชาชนไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้แก่ มีธุระต้องไปประกอบอาชีพ 32.27 % ขี้เกียจ 10.9 %
นักการเมืองมุ่งแสวงหาประโยชน์แก่ตนเอง 9.1 % ผู้แทนไม่มีประสิทธิภาพ 7.3 % ไม่ทราบการเลือกตั้ง 6.4 %
สาเหตุเหล่านี้สอดคล้องกับการเลือกตั้งของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518
ที่ส่วนใหญ่เหตุผลที่พบมากที่สุด คือ ติดธุระจำาเป็น และปัญหาเกี่ยวกับนักการเมือง
สำาหรับสาเหตุของผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพราะ ตั้งใจไปใช้สิทธิ 16.7 % การเป็นพลเมืองดีควรไปใช้สิทธิ
7.4 % เพราะเห็นว่าเขตได้รับประโยชน์ตามมา 2.0 %
การได้รับข่าวสารทางการเมืองและการเลือกตั้ง ทั้งการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน 2522
และการเลือกตั้งในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2524 ประชาชนได้รับผ่านทางหนังสือพิมพ์มากที่สุด 29.3% ซึ่งแบ่ง
ความสนใจในการอ่านหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวกับข่าวการเมืองมากกว่าประเภทอื่น 24.2% ข่าวเศรษฐกิจ 18.4%
ข่าวสังคม 17.7% นอกจากนั้นการได้รับข่าวสารทางการเมืองและการเลือกตั้งของประชาชน ผ่านทางโทรทัศน์
14.3% และวิทยุ 10.9%
โดยสรุป สิ่งที่น่าสนใจในงานวิจัยนี้ การชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจต่อการเลือกตั้งสูงไปใช้สิทธิ
น้อยกว่าผู้ที่มีความเข้าใจต่อการเลือกตั้งปานกลาง แต่โดยภาพรวมคนไม่สนใจการเลือกตั้งเท่าที่ควร ซึ่งผู้ที่มีความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งไปใช้สิทธิเลือกตั้งน้อยกว่าคนที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกตั้งปานกลาง
เขตบางขุนเทียน 29 พฤศจิกายน 2524
จิรายุทธ วัจนะรัตน์ (2525) ศึกษาเรื่อง “การไม่ไปออกเสียงเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีที่ผู้ที่ไม่ไป
ใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2524 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร”
ในประเด็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ทัศนคติ
ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทัศนคติต่อบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทัศนคติ
ต่อการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย และความคิดเห็นต่อระบบการบริหารงานเลือกตั้งของเขตบางขุนเทียน
โดยทำาการศึกษาเฉพาะประชาชนเขตบางขุนเทียนที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง จากการสุ่มตัวอย่างจำานวน 295 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ค่อนข้างดีในส่วนที่เกี่ยวกับโครงสร้างทั่ว ๆ ไป แต่ประชาชนยังขาดความเข้าใจในสาระสำาคัญของระบบการเมือง
การปกครองแบบประชาธิปไตย 2) ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกขาดความศรัทธา และไม่แน่ใจว่การปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยจะเป็นการปกครองที่สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้ดีที่สุด 3) ประชาชนส่วนใหญ่