Page 96 - kpiebook63010
P. 96

95







                  2.5 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้องในเรื่องกำรเลือกตั้งในเขต


                  กรุงเทพมหำนคร




                          ในส่วนนี้จะเป็นการสำารวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครโดยจะทำาการ

                  สำารวจอิงกับลำาดับเวลาของการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจากอดีตสู่ปัจจุบัน เพื่อให้เห็นพัฒนาการของกระบวนการ
                  เลือกตั้ง ทั้งในส่วนของทัศนคติ พฤติกรรมการเลือกตั้ง การสื่อสารทางการเมือง และประเด็นปัญหาที่พบ

                  อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ก่อนที่จะสรุปประเด็นในตอนสุดท้าย ทั้งนี้ในบางส่วนจะมีเรื่องของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
                  กรุงเทพมหานครเข้ามาด้วยเพื่อเป็นการเปรียบเทียบกัน




                          การเลือกตั้งทั่วไป 4 เมษายน พ.ศ. 2519 (ครั้งที่ 13)


                          การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในช่วงประชาธิปไตยแบ่งบาน หลังจากการลุกฮือขึ้น
                  ของประชาชนในการเรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ก่อนจะเข้าสู่การชุมนุมประท้วง

                  ของฝ่ายต่อต้านนักศึกษา การล้อมสังหารนักศึกษาและประชาชน และ การรัฐประหารเมื่อ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519


                          วิภาภรณ์ ปราโมช ณ อยุธยา (2520) ศึกษาเรื่อง “ทัศนคติทางการเมือง ความรู้ความเข้าใจ
                  และความสนใจการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร

                  วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2519” โดยต้องการทราบว่าประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีความรู้ ความเข้าใจ
                  ความสนใจในการเมือง ระบอบการปกครอง และการเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด มีปัจจัยทางประชากรและปัจจัย

                  ทางสังคมใดที่มีอิทธิพลทำาให้ความรู้ความเข้าใจ ความสนใจ และทัศนคติทางการเมืองการปกครองของประชาชน
                  นั้นแตกต่างกัน นอกจากนี้ ต้องการหาความสัมพันธ์ของความรู้ ความเข้าใจ และความสนใจเกี่ยวกับระบบการเมือง

                  และการเลือกตั้ง กับทัศนคติที่มีต่อระบบการเมืองและการเลือกตั้ง


                          ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจในระบบการเมืองแบบรัฐสภาอยู่ในระดับดีและ
                  ปานกลาง ประชาชนส่วนใหญ่มีความสนใจในการเมือง (เน้นเฉพาะบทบาทการทำางานของ ส.ส.) อยู่ในระดับ

                  ดี ส่วนทัศนคติต่อการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันนั้นประชาชนจำานวนกำ้ากึ่งกันเห็นว่า
                  การทำางานของ ส.ส. พอใช้ได้และไม่ได้ความ ประชาชนที่ไม่เชื่อว่ารัฐบาลทำาหน้าที่อย่างเต็มที่มีมากกว่าประชาชน

                  ที่เชื่อว่ารัฐบาลทำางานเต็มที่แล้ว แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อถือในการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
                  ส่วนความสนใจและทัศนคติต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจกับการเลือกตั้ง

                  แต่ประชาชนให้ความสนใจเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของพรรคการเมืองน้อยมาก สำาหรับเรื่องกระบวนการ
                  ตัดสินใจเลือกตั้ง หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจของประชาชนส่วนใหญ่พิจารณาพรรคเป็นหลัก ประชาชน

                  ส่วนใหญ่สามารถตัดสินใจได้แน่นอนว่าจะเลือกใครได้ล่วงหน้าประมาณ 1-2 สัปดาห์ก่อนการเลือกตั้ง
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101