Page 101 - kpiebook63010
P. 101
100 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
การเลือกตั้งทั่วไป 24 กรกฎาคม พ.ศ. พ.ศ. 2531 (ครั้งที่ 17)
การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งครั้งสุดท้ายในระบอบ “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” และการครองอำานาจ
ถึง แปดปีของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ภายหลังจากการเลือกตั้งดังกล่าว พลเอกเปรม ได้ปฏิเสธที่จะรับตำาแหน่ง
นายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง และลงจากอำานาจทางการเมืองในฐานะนายกรัฐมนตรีเมื่อ 3 สิงหาคม 2531
ปิยะพันธ์ ปิงเมือง (2533) ศึกษาเรื่อง “ปัญหาพฤติกรรมการออกเสียงเลือกตั้งในระบบการเมืองไทย
ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531” ผลการศึกษา
พบว่า 1) ปัญหาพฤติกรรมการใช้เงินซื้อเสียง มีการซื้อเสียงทำาผ่านระบบหัวคะแนน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ
ในเขตรอบนอกซึ่งมีสภาพความเป็นอยู่คล้ายกับสภาพต่างจังหวัดนั้นมีการชักจูงให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้มากกว่า
ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่กรุงเทพฯ เขตรอบใน 2) ปัญหาด้านกฎหมายเลือกตั้ง ข้อกำาหนดเกี่ยวกับเงินค่าใช้จ่ายของผู้สมัคร
350,000 บาท สวนกับความเป็นจริง ผู้สมัครต้องยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งตามความเป็นจริง
ต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกำาหนด แต่จากพฤติกรรมจริงใช้จ่ายเงินเกินกว่าที่กฎหมายระบุ มีการใช้จ่ายเงิน
ไปกับค่าซ่อมแซมสร้างสาธารณูปโภค ค่าอุปกรณ์วัสดุหาเสียง ค่าตอบแทนหัวคะแนน และเงินแจกประชาชน
ผ่านหัวคะแนน นอกจากนี้ ควรแก้ไขกฎหมายอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งจาก 20 เป็น 18 ปีบริบูรณ์ และควรกำาหนด
เรื่องภูมิลำาเนาด้วย กฎหมายที่ใช้ไม่ได้ระบุว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งและผู้สมัครควรมีภูมิลำาเนานั้น เช่น ระบุว่าควรมี
ภูมิลำาเนาไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อป้องกันซื้อเสียงย้ายประชาชนข้ามจากภูมิลำาเนาเดิม 3) ปัญหาทางด้านระบบ
วิธีและการดำาเนินงาน มีความสับสนในการแบ่งเขตเลือกตั้งของกรุงเทพฯที่มีการเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ มีความยุ่งยาก
ในระบบการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางตรงเป็นแบบผสมคือวิธีการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต/และรวมเขต
นับคะแนนเสียงข้างมากรอบเดียว ควรแก้ไขเป็นการเลือกตั้งแบบเขตละหนึ่งคน มีปัญหาการจัดทำาบัญชียอด
จำานวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของสำานักงานเขตต่าง ๆ ที่รายงานในครั้งแรกเมื่อมีการยุบสภาต่างกับยอดในบัญชีรายชื่อ
ผู้เลือกตั้งที่รายงานก่อนวันเลือกตั้ง 7 วัน เนื่องจากยอดของสำานักงานเขตต่าง ๆ ในการรายงานครั้งแรกมักไม่ตรง
ข้อเท็จจริง เพราะใช้ยอดเดิมที่เกี่ยวพันมาแต่ละเดือน นอกจากนี้การจัดส่งหนังสือเชิญชวนมาใช้สิทธิล่าช้า
และไม่ทั่วถึง และ 4) การประชาสัมพันธ์ของทางราชการและการหาเสียงของผู้สมัครมีอิทธิพลต่อการออกไป
ใช้สิทธิ ในจังหวัดที่ทางราชการประชาสัมพันธ์บ่อยจะมีประชาชนไปใช้สิทธิมากกว่าจังหวัดที่มีการประชาสัมพันธ์
น้อยครั้ง ควรให้มีการแก้ไขการประชาสัมพันธ์ให้ได้ผล
ฐปนรรต วัฒนาภรณ์ (2534) ศึกษาเรื่อง “กระบวนการสื่อสารในการเลือกตั้งระหว่างสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรกับประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร” ผลการศึกษาพบว่า เรื่องรูปแบบและวิธีการ
ในการหาเสียงนั้น การจัดทำาเอกสารมี 2 ช่วง คือ เอกสารที่จัดทำาขึ้นก่อนเลือกตั้ง และที่จัดทำาขึ้นหลังเลือกตั้ง
เอกสารมีหลายประเภท เช่น แผ่นพก แผ่นพับขนาดต่าง ๆ แผ่นปลิว จดหมาย การลงโฆษณาทางหนังสือพิมพ์
สติกเกอร์ หนังสือแนวนโยบายของพรรค หนังสือสรุปผลงาน และอื่น ๆ ลักษณะเด่นของการจัดทำาเอกสาร
มี 2 ลักษณะ คือ นำาเสนอลักษณะเด่นของพรรค และนำาเสนอลักษณะเด่นของผู้สมัครแต่ละคนในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ