Page 99 - kpiebook63010
P. 99

98       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             เห็นว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่สำาคัญของประชาชน แต่มีความรู้สึกขาดความศรัทธา และไม่แน่ใจว่า

             รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะมีประสิทธิภาพในการบริหารประเทศ 4) ประชาชนส่วนใหญ่มีทัศนคติไม่ดี
             และขาดความเชื่อถือศรัทธาในบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


                      ส่วนระบบการบริหารงานเลือกตั้งของเขตบางขุนเทียนยังมีสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุงบางประการ เช่น

             การประชาสัมพันธ์ การกำาหนดหน่วยเลือกตั้ง การจัดทำาบัญชีรายชื่อผู้เลือกตั้ง และการจัดทำาบัตรประจำาตัวประชาชน


                      ในประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ
             ต่อตัวแปรตาม คือ ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ทัศนคติ
             ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทัศนคติต่อบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

             และทัศนคติต่อการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย พบว่า ความรู้ความเข้าใจในระบบการเมืองการปกครอง

             แบบประชาธิปไตยนั้น ผู้ที่มีเพศต่างกันไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติต่อความรู้ความเข้าใจ
             ในเรื่องนี้ ระดับอายุของประชาชนเองก็ไม่ได้มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติต่อความรู้ความเข้าใจเช่นกัน
             อย่างไรก็ดี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติระหว่างระดับการศึกษาของประชาชนต่อความรู้ความเข้าใจ

             ในระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย ระดับรายได้ของประชาชนและอาชีพของประชาชนก็มีอิทธิพล

             ต่อความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ด้วย คืออาชีพราชการหรือรัฐวิสาหกิจจะมีความรู้ความเข้าใจสูงกว่าอาชีพอื่น
             ส่วนเรื่องทัศนคติต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทัศนคติต่อบทบาทและพฤติกรรมของสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎร และทัศนคติต่อการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย พบว่าตัวแปรเพศ ระดับอายุ ระดับ

             การศึกษา ระดับรายได้ และอาชีพไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติในเรื่องดังกล่าว



                      การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528



                      แม้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะไม่ใช่การเลือกตั้งทั่วไป แต่นี่คือการเลือกตั้งครั้งแรกของผู้บริหารท้องถิ่น
             ของกรุงเทพมหานคร ตาม พรบ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งในสมัยนั้นถือเป็น

             หน่วยการปกครองรูปแบบพิเศษที่เดียวในประเทศไทยที่ผู้บริหารมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
             และยังเป็นการเลือกตั้งที่ประชาชนทั้งกรุงเทพฯที่มีจำานวนมากที่สุดและเป็นเมืองหลวงของประเทศได้มีโอกาส

             เลือกคนคนเดียว ขณะที่การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้น ยังเป็นการแบ่งเขตเลือกตั้งออกไปหลายเขต


                      จุฑาทิพย์ สุขรังสรรค์ (2529) ศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
             กรุงเทพมหานคร” ดูความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม อันได้แก่ เพศ

             อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ กับตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการ
             กรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมปานกลางขึ้นไป มีการศึกษาสูง อายุ

             อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว (20-30 ปี) จนถึงวัยกลางคน (31-40 ปี) มีแนวโน้มไปลงคะแนนโดยสำานึกของตัวเอง
             มากกว่าการถูกระดม แต่การตัดสินใจเลือกผู้สมัครกลับตัดสินใจได้ล่าช้าและมีความแน่นอนน้อยกว่าผู้ที่มีวัย
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104