Page 97 - kpiebook63010
P. 97

96       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      ปัจจัยทางประชากรและสังคมที่มีอิทธิพลต่อความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจ และทัศนคติทางการเมือง

             การเลือกตั้งของประชาชนก็คือ เพศ ระดับการศึกษา และฐานะทางเศรษฐกิจสังคม โดยเพศชาย ผู้มีการศึกษา
             ระดับปานกลางถึงสูง และผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจปานกลางถึงสูงจะมีความรู้ความเข้าใจในระบบการเมือง

             แบบรัฐสภาดี ความสนใจในสถานการณ์การเมือง การเลือกตั้งดี และตัดสินใจเลือกตั้งได้เร็วกว่าเพศหญิง
             ผู้มีการศึกษาตำ่า และผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมตำ่า ในด้านทัศนคติทางการเมืองและการปกครองฯ เพศชาย

             จะมีทัศนคติที่ดีกว่าเพศหญิง ส่วนทัศนคติในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้นเพศชาย ผู้มีการศึกษาระดับปานกลาง
             ถึงสูง และผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูงจะมีทัศนคติที่ดีและมีความกระตือรือร้นไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่า

             เพศหญิง ผู้มีการศึกษาตำ่า และผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมตำ่า


                      ในเรื่องความสัมพันธ์ของความรู้ ความเข้าใจ และความสนใจเกี่ยวกับระบบการเมืองและการเลือกตั้ง
             กับทัศนคติที่มีต่อระบบการเมืองและการเลือกตั้งพบว่า 1) ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบการเมืองแบบ

             รัฐสภาสูง จะมีเปอร์เซ็นต์ผู้ที่มีทัศนคติทางการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันในทางที่ดี
             มากกว่าผู้ที่มีทัศนคติไม่ดี และมากกว่ากลุ่มที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบการเมืองแบบรัฐสภาตำ่า 2) ผู้ที่มี

             ความรู้ความเข้าใจในระบบการเมืองแบบรัฐสภา และมีความสนใจในการเมืองดี จะมีทัศนคติในการไปใช้สิทธิ
             เลือกตั้งที่ดีด้วย 3) ผู้ที่มีทัศนคติทางการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันดีส่วนใหญ่

             จะมีทัศนคติที่ดีต่อการไปใช้สิทธิเลือกตั้งด้วย



                      การเลือกตั้งทั่วไป 22 เมษายน 2522 (ครั้งที่ 14) และการเลือกตั้งซ่อม พ.ศ. 2524


                      การเลือกตั้งในครั้งนั้นเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในช่วง “ประชาธิปไตยครึ่งใบ” หมายถึงเป็นการเลือกตั้ง

             ครั้งแรกภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 6 ตุลา พ.ศ. 2519 และ รัฐประหาร 20 ตุลาคม พ.ศ. 2520 ก่อนจะเข้าสู่
             การใช้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2521 โดยภายหลังจากการมีรัฐธรรมนูญรัฐประหารในปี 2520 ได้มีการแต่งตั้ง

             พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ต่อมาหลังการเลือกตั้ง 2522 พลเอกเกรียงศักดิ์ ก็ได้รับเลือกตั้ง
             กลับเข้ามาอีกครั้ง และบริหารประเทศมาจนถึง 29 กุมภาพันธ์ 2523 จึงประกาศลาออก สภาฯจึงได้เลือก

             พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนเมื่อ 3 มีนาคม 2523 การเลือกตั้งซ่อมเมื่อปี พ.ศ. 2524
             จึงเป็นช่วงแรกของการขึ้นสู่อำานาจของพลเอกเปรมซึ่งอยู่ในอำานาจมาจนถึง 3 สิงหาคม 2531




                      การเลือกตั้งซ่อมเขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ 8 กุมภาพันธ์ 2524


                      กนก บิณศิรวานิช (2525) ศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการเลือกตั้ง : ศึกษาเฉพาะกรณีการเลือกตั้งสมาชิก
             สภาผู้แทนราษฎร เขต 8 กรุงเทพมหานคร” ซึ่งประกอบไปด้วย เขตบางกอกน้อย และเขตบางกอกใหญ่ ในช่วง

             การเลือกตั้งวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2524 โดยใช้วิธีแจกแบบสอบถามให้กับกลุ่มประชากรตัวอย่างในพื้นที่เขต 8
             ของกรุงเทพมหานคร ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็น

             เพศ ฐานะทางเศรษฐกิจ สัญชาติ ไม่ทำาให้เกิดความแตกต่างในระดับความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้ง ส่วนอายุ
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102