Page 109 - kpiebook63010
P. 109
108 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร
ขณะที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนผ่านหัวคะแนน และผู้นำาชุมชน
มีระดับที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ถึงแม้ว่าค่าคะแนนของผู้นำาชุมชนจะอยู่ในระดับปานกลางแต่ก็ค่อนไปทางน้อย
ซึ่งก็สอดคล้องกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนผ่านหัวคะแนนที่อยู่ในระดับตำ่า
โดยงานชิ้นนี้อธิบายว่า เนื่องมาจากบริบทเป็นพื้นที่เขตเมืองที่แตกต่างจากต่างจังหวัด สำาหรับในกรุงเทพฯ
หัวคะแนนในพื้นที่เขตเมืองไม่มีความสำาคัญเท่าไหร่ นอกจากนั้น ในงานวิจัยชิ้นนี้ อธิบายว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชนจากสื่ออินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับปานกลาง
การเลือกตั้งทั่วไป 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 (ครั้งที่ 26)
การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังความขัดแย้งทางการเมืองของการชุมนุมแนวร่วม
ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือที่เรียกกันว่า “คนเสื้อแดง” การชุมนุมดังกล่าวจบลงที่
การสลายการชุมนุมโดยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำานวนมาก และ มีความเสียหาย
ของอาคารบ้านเรือนในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานคร ภายหลังที่นายอภิสิทธิ์ ยุบสภาแล้วจัดให้มี
การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทยได้ถูกจัดตั้งขึ้นโดยเป็นการกลายร่างมาจากพรรคพลังประชาชนที่ถูกยุบลง ภายหลัง
วิกฤติทางการเมืองที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ชุมนมประท้วงขับไล่รัฐบาลของพรรคพลังประชาชน
ภายใต้การนำาของนายสมัคร สุนทราเวศ และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายสมัครถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ให้ความเป็นนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตัดสิน ต่อมามีการวินิจฉัยพรรคพลังประชาชนจากการทุจริตการเลือกตั้ง
ของนายยงยุทธ ติยะไพรัช มีผลทำาให้นายนายสมชาย พ้นจากตำาแหน่งนายกรัฐมนตรี และตัดสิทธิทางการเมือง
ของคณะกรรมการบริหารพรรคฯ 5 ปี โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
น้องสาวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอันดับหนึ่ง
พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ (2558) ทำาการศึกษาเรื่อง “การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง
และพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2554: กรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองขององค์กรหรือกลุ่มทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับ
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษาความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมือง
ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐ
องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขต
กรุงเทพมหานคร
ผลการศึกษาพบว่าการเลือกตั้งครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งจากระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์
เป็นระบบเขตเดียวเบอร์เดียว และจากระบบแบ่งกลุ่มจังหวัดเป็น 8 กลุ่มในการเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ
เป็นบัญชีรายชื่อเดียวทั้งประเทศ บรรยากาศทั่วไปของการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความราบรื่น ประชาชนออกมา
ใช้สิทธิกันเป็นจำานวนมาก เกินกว่า 70 เปอร์เซ็นในหลายเขตภายในพื้นที่กรุงเทพมหานคร