Page 111 - kpiebook63010
P. 111

110      การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      2) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจกับการรับรู้และสนใจการเมือง

             และการลงคะแนน


                      งานจำานวนหนึ่งมุ่งค้นหาและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจ
             อย่างเช่น เพศ การศึกษา อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจสังคม กับการรับรู้และสนใจการเมือง รวมถึง

             การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมักจะมีข้อค้นพบบางส่วนที่มีทิศทางไปในทางเดียวกัน คือ ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ
             สังคมปานกลางขึ้นไป และผู้มีการศึกษา จะเข้าใจและสนใจการเมือง และสนใจไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง

             ตัวอย่างเช่น งานของวิลาภรณ์ ปราโมช ณ อยุธยา (2520) ที่ศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้ง
             พ.ศ. 2519 แล้วพบว่าเพศชาย ผู้มีการศึกษาระดับปานกลางถึงสูง ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมปานกลางถึงสูง

             จะมีความรู้ความเข้าใจและสนใจการเมืองดี และตัดสินใจเลือกตั้งได้เร็วกว่าเพศหญิง ผู้มีการศึกษาตำ่า และ
             ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมตำ่า ส่วนทัศนคติในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งนั้น เพศชาย ผู้มีการศึกษาระดับปานกลาง

             ถึงสูง ผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมสูง จะมีทัศนคติที่ดีและมีความกระตือรือร้นไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่า
             เพศหญิง ผู้มีการศึกษาตำ่า และผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมตำ่า หรืองานของจุฑาทิพย์ สุขรังสรรค์ (2529)

             พบว่า ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมปานกลางขึ้นไป มีการศึกษาสูง อยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาวจนถึงวัยกลางคน
             มีแนวโน้มไปลงคะแนนโดยสำานึกของตัวเองมากกว่าการถูกระดม




                      3) การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองในการตัดสินใจ และการสื่อสารฝ่ายผู้สมัครสู่ผู้ลงคะแนน


                      งานบางชิ้นเน้นศึกษาไปที่การสื่อสารระหว่างผู้สมัคร ส.ส. กับประชาชนคนลงคะแนน ทำาให้เห็น
             ความสำาคัญของสื่อต่าง ๆ และการจัดทำาเอกสารในการหาเสียง ตัวอย่างคืองานของ ฐปนรรต วัฒนาภรณ์ (2534)

             ที่ศึกษากระบวนการสื่อสารในการเลือกตั้งระหว่าง ส.ส. กับประชาชนในเขตเลือกตั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร
             พบว่าสื่อมวลชนและสื่ออื่น ๆ เป็นสื่อที่ประชาชนมีโอกาสได้รับทราบข่าวสารการเลือกตั้งมากที่สุด ส่วนวิธีการ

             หาเสียงที่ประชาชนรับทราบว่านิยมใช้มากที่สุด คือ หนังสือเชิญชวน ใบปลิว และแผ่นพับ




                      4) บทบาทของหัวคะแนนที่มีต่อการลงคะแนน

                      ในงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีงานกล่าวถึงบทบาทของหัวคะแนน แต่จากข้อมูลที่มีสามารถแบ่งบทบาท

             ของหัวคะแนนออกเป็น 2 ประเด็น คือ 1. บทบาทของหัวคะแนนในฐานะผู้ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
             แก่ประชาชน ซึ่งมีความสำาคัญค่อนข้างน้อย ซึ่งปรากฎในงานของแก้วตา โอภาสศิริวิทย์ (2551) และ 2. บทบาท

             ของหัวคะแนนกับการซื้อเสียง การซื้อเสียงกระทำาผ่านระบบหัวคะแนนเกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ รอบนอก
             และมีส่วนในการชักจูงให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอยู่ในงานของปิยะพันธ์ ปิงเมือง (2533)
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116