Page 41 - kpiebook63008
P. 41
41
ของผู้ปกครองและจะพยายามเข้าไปเป็นผู้ปกครอง โดยที่สังคมแบบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นเมื่อคนในสังคม
มีค่านิยม ปทัสถานและวัฒนธรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับระบอบการเมือง นอกจากนี้กฎเสียงข้าง
มากมิใช่คนส่วนมากเป็นผู้ปกครองแต่เป็นคนกลุ่มน้อยที่ได้รับความเห็นชอบจากคนจำานวนมากทำาหน้าที่
เป็นผู้ปกครอง ในขณะที่ปัจจัยสังคมที่เอื้อต่อระบอบประชาธิปไตย ประกอบด้วย ระดับความั่งคั่ง (wealth)
ความเจริญทางอุตสาหกรรม (industrialization) สภาพสังคมเมือง (urbanization) และ ระดับการศึกษา
(education) นอกจากนี้แล้วในมิติการใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของกลุ่มผลประโยยชน์นั้น Lipset เห็น
ว่ากลุ่มผลประโยชน์จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่นั้น มาจากเงื่อนไขสำาคัญได้แก่ (1) ผลประโยชน์ของกลุ่ม
ได้รับการกระทบจากนโยบายของรัฐบาล (2) การได้รับรู้ถึงการตัดสินใจทางการเมืองที่จะเกิดผลดีต่อประโยชน์
ของกลุ่มตน (3) สังคมเกิดภาวะวิกฤต ต้องพึ่งพามติมหาชน และ (4) การไม่มีพรรคการเมืองในการเลือกตั้ง
หลายพรรคจนเกินไป (สุกิจ เจริญรัตนกุล, 2531, หน้า 80-82, 85) ในทัศนะของ Lipset ดังกล่าวแสดงให้ว่า
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นย่อมเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเป็นสำาคัญ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์ด้วยการไปใช้สิทธิ
ลงคะแนนหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการประเมินผลกระทบด้านนโยบายที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง
การเปลี่ยนแปลงของระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
นั้นนับว่ามีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งในสังคมไทยปัจจุบัน ดังจะพบว่าความสนใจทางการเมืองทั้งการทำาหน้าที่
ของรัฐบาล พรรคการเมืองและนักการเมืองนั้นมีมากขึ้นเป็นลำาดับ นอกจากนี้แล้วความสนใจการเมือง
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นมิใช่การให้ความสำาคัญกับการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นการเมือง
ที่ให้ความสำาคัญกับมิติการเมืองที่เป็นการรวมศูนย์อำานาจการปกครองเป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทน
อันเป็นแนวคิดประชาธิปไตยที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าล้มเหลว ไม่สามารถตอบสนองความต้องการ
และการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในปัจจุบัน
จึงแปรเปลี่ยนและขยายไปสู่มิติต่าง ๆ เช่น การจัดการท้องถิ่น การจัดการทรัพยากร สิทธิสตรี สิทธิมนุษยชน
สิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มศาสนา และสิทธิทางเพศ เป็นต้น
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในมิติต่าง ๆ ดังกล่าวนี้นักวิชาการจำานวนมากได้ทำาศึกษาและอธิบาย
เช่น ถวิลวดี บุรีกุล (2552, หน้า 16-17) ในงานเขียนเรื่อง “พลวัตรการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน:
จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550” ซึ่งได้อธิบายถึงเงื่อนไขพื้นฐาน
ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง 3 ประการ ประกอบด้วย การมีเสรีภาพ ความเสมอภาค และความสามารถ
ซึ่งในประเด็นแรกนั้นประชาชนจะมีส่วนร่วมหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องเป็นไปโดยความสมัครใจ ไม่ถูกบังคับ
ในกรณีใด ๆ ขณะที่ความเสมอภาค ให้ความสำาคัญกับการมีสิทธิที่เท่าเทียมกันกับคนอื่น และความสามารถ
เกี่ยวข้องกับการที่ประชาชนแต่ละกลุ่มจะเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้หลักความสามารถ มิใช่จำาเป็น
ต้องเข้าร่วมในทุกกิจกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก นอกจากนี้แล้วการมีส่วนร่วมมีหลายระดับ เช่น
การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ (decision making) การมีส่วนร่วมในการดำาเนินการ (implementation)
การมีส่วนร่วมรับผลประโยชน์ (benefit) และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล (evaluation) เป็นต้น