Page 36 - kpiebook63008
P. 36

36       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             (4) ความชื่นชอบเป็นความรู้สึกพึงพอใจในบุคลิกส่วนบุคคล เป็นความต้องการที่อยากให้บุคคลอื่น ๆ ชื่นชอบ

             และยกย่องทำาให้สามารถมีโอกาสเป็นผู้มีอิทธิพลได้ และช่วยให้เกิดความรู้สึกร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม


                      ขณะที่คุณค่าด้านสวัสดิการและความเป็นอยู่ ได้แก่ (1) ความอยู่ดีกินดีนั้น เกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพ
             การมีชีวิตที่ดี แต่ไม่อาจวัดเพียงมาตรฐานการดำารงชีวิต ต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมด้วย เช่น หากเป็นสังคม

             อุตสาหกรรมแม้จะมีมาตรฐานชีวิตสูงแต่ก็ต้องประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (2) ความมั่งคั่ง สามารถสังเกต
             และวัดได้จากทรัพย์สิน เป็นที่ต้องการของทุกคน นำามาซึ่งสิ่งอำานวยความสะดวกสบายในชีวิต (3) ความรอบรู้

             เกี่ยวข้องกับความสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารของสังคมและบ้านเมือง การรู้ในข่าวสารหรือควบคุมข่าวสาร
             ของสังคม ทำาให้มีโอกาสที่ดีในการมีสวัสดิการที่ดีกว่าบุคคลอื่น ขณะที่ (4) ทักษะ เป็นความสามารถในการ

             ประกอบการหรือดำาเนินกิจกรรม มาจากการศึกษาและการฝึกฝน


                      คุณค่า 8 ประการดังกล่าว Lasswell เห็นว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา เป็นทั้งจุดมุ่งหมาย
             และเครื่องมือในการนำามาซึ่งสิ่งต่าง ๆ โดยอำานาจมีบทบาทสำาคัญในการได้มาซึ่งความมั่งคั่ง และความรอบรู้
             นอกจากนี้กระบวนการทางการเมืองเกี่ยวข้องกับการแสวงหาสิ่งที่มีคุณค่า ทำาให้เกิดความขัดแย้งแข่งขัน กิจกรรม

             การเมืองมีผลต่อการกระจายสิ่งที่มีคุณค่าเหล่านั้น โดยผู้นำาหรือผู้มีอิทธิพลทางการเมืองจะเข้าร่วมในกิจกรรม

             การเมืองด้วยบทบาทการเป็นผู้กำากับและควบคุมการะจายสิ่งที่คุณค่าต่าง ๆ ด้วยการใช้อิทธิพลผ่านกิจกรรม
             ทางการเมืองเพื่อรักษาสถานภาพของตน การใช้อิทธิพลมี 4 รูปแบบ ประกอบด้วย (1) การโน้มน้าวจิตใจ
             (2) การใช้กำาลังบังคับ (3) การเข้าควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และ (4) การเข้ามีบทบาทในการตัดสินใจและ

             การกำาหนดนโยบายของรัฐ (สุกิจ เจริญรัตนกุล, 2530, หน้า 63-68)


                      การใช้วิธีการโน้มน้าวจิตใจนั้นเป็นการสร้างอุดมการณ์เพื่อให้ปัจเจกชนเกิดความเสื่อมใสในอุดมการณ์

             โดยใช้การสื่อสารโฆษณาชวนเชื่อและปลูกฝังอุดมการณ์เป็นเครื่องมือ ได้แก่ เอกสาร หนังสือพิมพ์ วิทยุ รวมถึง
             โทรทัศน์ ฯลฯ  การใช้กำาลังบังคับข่มขู่ทำาได้ง่ายกว่า ด้วยผู้มีอิทธิผลหรือผู้นำามีสิ่งที่มีคุณค่าอยู่แล้ว
             ทำาให้เอื้ออำานวยต่อการใช้ แต่ก็ต้องประเมินผลดีผลเสียให้ดี บางกรณีเป็นสิ่งจำาเป็น แต่บางครั้งอาจไม่จำาเป็น

             ด้วยอาจทำาให้สูญเสียความศรัทธา ความนับถือและความชื่นชอบ ดังนั้นความเหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำาคัญ

             การใช้วิธีการควบคุมทรัพยากรและผลผลิตทางเศรษฐกิจ ผู้มีอิทธิพลหรือผู้นำามักทำาการสะสมหรือเพิ่มอำานาจ
             ความมั่งคั่งและทักษะของตน จึงสามารถนำามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพยายามมีบทบาทควบคุม
             การผลิต การกำาหนดราคาสินค้าและบริการ ขณะที่ผู้มีอิทธิพลฝ่ายตรงข้ามผู้ปกครองจะแสดงอิทธิพล

             รวมถึงแสวงหาอิทธิพลด้วยการปลุกกระแสความรู้สึกที่ไม่พอใจให้กับผู้ใช้แรงงานในการผลิตเพื่อนำาไปสู่

             การประท้วงและต่อต้านผู้ปกครอง วิธีการสุดท้าย การเข้ามีบทบาทในการตัดสินใจและการกำาหนดนโยบาย
             ของรัฐ วิธีการนี้จะทำาให้มีบทบาทด้านการบริหารและการตัดสินใจในนโยบาย เป็นสิ่งที่ทำาให้ผู้มีอิทธิพล
             และผู้นำามีอำานาจอย่างแท้จริงเพราะสามารถกำาหนดแนวทางตามที่ตนต้องการได้


                      ในการอธิบายอิทธิพลและบทบาทของผู้นำาทางการเมืองนั้น Lasswell ให้ความสำาคัญกับความสัมพันธ์

             ระหว่างบุคลิกภาพของผู้นำากับกระบวนการตัดสินใจกำาหนดนโยบายในระดับรัฐ โดยเห็นว่ากระบวนการกำาหนด
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41