Page 31 - kpiebook63008
P. 31

31








                  ตาราง 2.1 แสดงขบวนกำรทำงสังคมรูปแบบใหม่กับขบวนกำรแรงงำนดั้งเดิม





                        ด้ำน/ประเด็น          ขบวนกำรทำงสังคมรูปแบบใหม่             ขบวนกำรแรงงำน

                   ตำาแหน่งแห่งที่         ลักษณะเป็นประชาสังคม (civil society) เกิดขึ้นภายในระบบการเมืองปกติ
                   (location)                                                (polity)

                   จุดมุ่งหมาย (aims)      ต้องการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวิถีชีวิต/  ได้รับการยอมรับทางการเมือง และ
                                           การปกครอง                         สิทธิด้านเศรษฐกิจในฐานะสิทธิ

                                                                             พลเมือง (political integration)
                   การจัดองค์การ           เครือข่ายระดับรากหญ้า (network)   เป็นองค์การแบบทางการ/สาย

                   (organization)                                            การบังคับบัญชาบนสู่ล่าง (formal

                                                                             hierarchical)
                   ยุทธวิถี                กระทำาทางตรง (direct action) / สร้าง การระดมทางการเมือง (political

                   (medium of action)      นวัตกรรมเชิงวัฒนธรรม (cultural   mobilization)
                                           innovation)

                  ที่มา: Alan Scott (1990, p.9 อ้างถึงใน พฤทธิสาณ ชุมพล), “ขบวนการทางสังคม” ใน ค�าและคมความคิด
                  ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย, เอกตั้งทรัพย์วัฒนา สิริพรรณ นกสวน และพฤทธิสาณ ชุมพล (ม.ร.ว.) บรรณาธิการ.

                  พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550), หน้า 351.




                          อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปนั้นกลุ่มขบวนการทางสังคมนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมาย

                  ของกลุ่มเป็นสำาคัญ มีทั้งในระดับชาติ เช่น เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายชุมชน เครือข่ายแรงงาน กลุ่มเครือข่าย
                  สิทธิสตรี กลุ่มเครือข่ายรัก กลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มเครือข่ายรัก

                  ทะเล กลุ่มเครือเพศสภาพ กลุ่มเครือข่ายที่ดิน กลุ่มเครือข่ายชาวไร่ชาวนา กลุ่มต่อต้านเหมืองแร่ กลุ่มเครือข่าย
                  ศาสนา เป็นต้น ในขณะที่กลุ่มเครือข่ายระหว่างประเทศ เช่น เครือข่ายสิทธิมนุษยชน กลุ่มกรีนพีซ เครือข่าย

                  แรงงานสากล เป็นต้น


                          สำาหรับในกลุ่มแนวคิดและทฤษฎีว่าด้วยความทันสมัยและการพัฒนาทางการเมืองนั้น นักวิชาการ
                  จำานวนมากได้ทำาการศึกษาและอธิบายไว้มากมาย แต่ที่เลือกนำามาใช้ในการอธิบาย ประกอบด้วยแนวคิด
                  ของ Telcott Parsons, Almond และ Powell และ Sammuel P. Huntington เป็นหลัก (สิทธิพันธ์

                  พุทธหุน, 2551,หน้า 91-93) โดย Parsons อธิบายว่าประกอบด้วย (1) ความเป็นสากล (universalistic) คือ

                  กฎ ระเบียบของสังคมจะบังคับกับทุกคน ไม่มีบุคคลใดอยู่เหนือกฎหมาย (2)  การแบ่งงานตามความชำานาญ
                  เฉพาะด้าน (specific) ไม่เกิดการก้าวกายหน้าที่ ทุกฝ่ายรู้เป้าหมายการทำางาน (3) สังคมทันสมัยยึดหลักสัมฤทธิผล
                  (achievement) เป็นระบบคุณธรรม ไม่ใช่ระบบเครือญาติหรือเพื่อนฝูงในลักษณะเดียวกับสังคมแบบเก่า
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36