Page 27 - kpiebook63008
P. 27
27
บทที่ 2
แนวคิด ทฤษฏีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
สำาหรับในบทนี้ผู้วิจัยทำาการรวบรวมแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้สำาหรับการศึกษาการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จังหวัดกาญจนบุรี ปี 2562 ประกอบแนวคิดด้วยความทันสมัยทางการเมือง
(political modernization) แนวคิดระบบอุปถัมภ์ (patronage system) แนวคิดวัฒนธรรมทางการเมือง
(political culture) แนวคิดอิทธิพลของผู้นำาในระบบการเมือง (political elite) แนวคิดการตัดสินใจเลือก
ของส่วนรวม (public choice) แนวคิดความเป็นเหตุเป็นผล (rational choice) แนวคิดการตลาดการเมือง
(political marketing) แนวคิดการสร้างภาพลักษณ์ทางการเมือง (political image) แนวคิดเชิงจิตวิทยาการเมือง
(political psychology) ซึ่งแนวคิดหลังนี้เลือกใช้เฉพาะแนวคิดความคาดหวัง (political expectation) พฤติกรรม
ทางเมือง (political behavior) และแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง (political participation) เท่านั้น
แนวคิดระบบอุปถัมภ์ แนวคิดกลุ่มเครือข่ำย แนวคิดควำมทันสมัย วัฒนธรรม
ทำงกำรเมือง และอิทธิพลของชนชั้นน�ำในระบบกำรเมือง
ในการเมืองไทย โครงสร้างและบริบททางสังคมดั้งเดิมหรือแบบชุมชนหมู่บ้านมีความสัมพันธ์อย่างยิ่ง
ต่อพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน ซึ่งในทัศนะของ Norman Jacobs (1971, pp.19, 67-95) ได้
อธิบายไว้ใน Modernization without development: Thailand as an Asian case study ว่าสังคมไทย
มีการเปลี่ยนแปลง มีความทันสมัยเช่นเดียวกับประเทศตะวันตก หากแต่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจนำาไปสู่
ความแตกต่างต่างทางชนชั้น ด้านสังคม ประชาชนมีปัญหาด้านการขาดระเบียบวินัย ยาเสพติด อบายมุขและ
การขาดความเสมอภาคในโอกาส เป็นการพัฒนาที่ขาดความสมดุลระหว่างเมืองกับชนบท ในทางการเมือง
มีรูปแบบเป็นประชาธิปไตยก็จริง หากแต่ในเชิงเนื้อหาแล้วยังไม่พัฒนา เกิดวงจรล้มลุกคลุกคลาน ที่รับรู้ในวลีที่ว่า