Page 30 - kpiebook63008
P. 30

30       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             ซึ่งมีเป้าหมายอยู่ที่การเรียกร้องสิทธิคนงานมากขึ้น การแสวงหาโอกาสของชนชั้นในกระบวนการทางการเมือง

             ผ่านการมีสิทธิเลือกตั้ง การจัดตั้งพรรคการเมือง และการยอมรับการมีสภาพแรงงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย
             เป็นการต่อสู้ภายใต้แนวคิดประชาธิปไตยในฐานะพลเมือง (citizenship) และการมีตัวแทน เป้าหมายหลักคือ

                                                           4
             การปรับระบอบการเมืองการปกครองตามวิถีการเมือง  ทั้งนี้การแปรเปลี่ยนไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองได้
             ทำาให้ขบวนการสังคมที่มีเป้าหมายหลักอยู่ที่การต่อสู้ต้านแรงงานลดความสำาคัญลง (พฤทธิสาณ ชุมพล, 2550,

             หน้า 345-354) อย่างไรก็ตามขบวนการทางสังคมได้มีบทบาทสำาคัญในการขับเคลื่อนการต่อสู้ทางชนชั้น หรือ
             กลุ่มอาชีพซึ่งทำาให้มีการรวมกลุ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 ต่อเนื่องต้นศตวรรษที่ 20 และมีพัฒนาการสำาคัญใน

             ทศวรรษ 1960 ผ่านขบวนการนักศึกษาต่อต้านสงครามเวียดนาม ขบวนการสันติภาพ ขบวนการสตรีนิยม
             ขบวนการนิเวศนิยมหรือกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ/กลุ่มการเมืองสีเขียว (green politics) เป็นกลุ่มที่มี

             แนวร่วมหลากหลายสาขาอาชีพและชนชั้น มีแกนกลางสำาคัญคือ ความสนใจ/ความห่วงใยในประเด็นปัญหา
                           5
             (issue) เดียวกัน  (พฤทธิสาณ ชุมพล, 2550, หน้า 347-349) มีลักษณะ 3 ประการ กล่าวคือ (1) การมีลักษณะ
                                                                6
             เป็นขบวนการทางสังคมมากกว่าเป็นขบวนการทางการเมือง  นับจากหลังกลางศตวรรษ 20 ขบวนการนี้ให้
             ความสนใจประเด็นพลเมืองน้อย จึงแสดงให้เห็นความสนใจการเมืองน้อยกว่า แต่เน้นค่านิยมและวิถีชีวิตหรือ

             วัฒนธรรม มีลักษณะเป็นกระบวนการประชาสังคม (civil society) เกิดการจัดตั้งกันเอง เป็นอิสระจากรัฐ
                                                                                                       7
             ไม่อยู่ในภาคเศรษฐกิจโดยตรงแต่มีบทบาทในการทำากิจกรรมสาธารณะ (public sphere) เป้าหมายเพื่อสังคม
             ไม่มุ่งเน้นการเข้าไปมีส่วนสำาคัญนการครอบครองอำานาจรัฐ (2) การมีฐานหลักอยู่ที่ประชาสังคม ในลักษณะ
             อ้อมรัฐ (bypass the state) ไม่เน้นติดต่อหรือท้ายทายอำานาจรัฐโดยตรง แต่ต้องการปกป้องสังคมจาก

             การก้าวก่ายโดยรัฐแทคโนแครต (technocratic state)  มีลักษณะเป็นความห่วงใย มีการดำาเนินกิจกรรมและ
                                                           8
             ลักษณะอุดมการณ์เชิงสัญลักษณ์ (3) การมีเป้าหมายเปลี่ยนแปลงสังคม ด้วยการเปลี่ยนค่านิยม และการพัฒนา

             วิถีชีวิตแบบทางเลือก เปลี่ยนวิธีคิดที่มองการเปลี่ยนแปลงต้องผ่านระบบการเมือง-การกระทำาทางการเมือง
                                                                                          9
             ไปสู่การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม (cultural innovation) เน้นสัญลักษณ์การมีตัวตน (identity)


             4   การเคลื่อนไหวดังกล่าวนักวิชาการกลุ่มอธิบายว่าเป็นขบวนการทางเมือง (political movement) มากกว่าการเป็นเพียง

             ขบวนการทางสังคม หรือมิติที่มองว่า ความสำาเร็จของขบวนการแรงงานอยู่ในฐานะขบวนการทางการเมือง เป็นการเปลี่ยนแปลง
             วิธีการจัดองค์กรด้วยการเน้นการเป็นกลุ่มผลประโยชน์ภายใต้รูปแบบสหภาพแรงงาน การเจรจาต่อรองกับนายจ้างและรัฐ
             รวมถึงการนำาไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมือง คือพรรคแรงงาน (ดูเพิ่มเติมใน พฤทธิสาณ ชุมพล, 2550, หน้า 346)
             5   กลุ่มขบวนการเหล่านี้ได้รับการอธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงไปจากขบวนการสังคมแบบดั้งเดิม และเรียกใหม่ว่า
             “ขบวนการทางสังคมรูปแบบใหม่” (new social movement)
             6   ขบวนการแรงงานเน้นการต่อสู้เพื่อความเป็นพลเมืองของพวกตน ด้วยเดิมสิทธิเลือกตั้งในยุโรปจำากัดเฉพาะผู้มีทรัพย์สิน
             หรือผู้เสียภาษี จึงมีเป้าหมายทางการเมืองเท่ากับเป็นขบวนการทางการเมือง นอกจากจากในยุคแรกทศวรรษ 1920
             ของขบวนการสิทธิสตรีเน้นสิทธิพลเมือง
             7   แตกต่างจากกลุ่มเพื่อน ครอบตัว ซึ่งเป็นการจำากัดเฉพาะอาณาบริเวณส่วนตน
             8   แทคโนเครตในนัยนี้หมายถึงการมีโครงสร้างของสังคมส่วนหนึ่งมีลักษณะการเป็นบรรษัทขนาดใหญ่ มีการเข้าจัดการวิถีชีวิต
             คนผ่านความเชี่ยวชาญแต่มิได้ให้ความสำาคัญกับชีวิตจิตใจ มองความขัดแย้งไม่เฉพาะการเมืองแต่กระทบทั้งสังคม

             9   ในบางทัศนะเชื่อว่าเป็นขบวนการชนชั้น เป็นการท้าทายหลักการผลิตและการแจกจ่ายทรัพยากรภายใต้ระบบเศรษฐกิจ
             ทุนนิยม โดยไม่เชื่อในสิ่งดังกล่าว แต่เห็นว่าเป็นการผลิตความสัมพันธ์ทางสังคม สัญลักษณ์ ความมีตัวตน ไม่สนใจการเมือง
             ที่ชัดเจนหรือพยายามถอยห่างจากการเมือง
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35