Page 29 - kpiebook63008
P. 29

29








                  ได้เช่นเดียวกันหากไม่สามารถปรับตัวได้  โดยผู้อุปถัมภ์ที่มีอำานาจเฉพาะด้าน ระบบราชการหรือองค์กรของรัฐ

                  เช่น ครู หรือเจ้าหน้าที่รัฐต่าง ๆ อาจเข้ามามีบทบาทแทน (Silverman, 1967; Powell, 1970 และ Pitt River,
                  บทที่ 3
                  1971 และ Boissavain, 1966 อ้างถึงใน ปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2554, หน้า 239)

                          สำาหรับระบบการเลือกตั้งในการเมืองไทย ระบบอุปถัมภ์ (patronage system) เป็นปัจจัยสำาคัญที่มี

                  อิทธิพลต่อการตัดสินใจในทางการเมืองของประชาชน มีลักษณะเป็นเครือข่ายโยงใยลึกซึ้งในสังคม นอกจากนี้
                  กรอบแนวคิดในกำรพัฒนำ
                  ปัจจัยทางวัฒนธรรมการเมืองในอดีตยังคงมีบทบาทหรืออิทธิพลต่อพฤติกรรมทางการเมืองไทยในปัจจุบันด้วย
                  เช่นกัน (ณัฐพงศ์ บุญเหลือ, 2556, หน้า 23-29; 2560, หน้า 31-32; กฤษณา ไวสำารวจ, 2555, หน้า 21 – 29)

                  อย่างไรก็ตามพฤติกรรมทางการเมือง ความคิดทางการเมือง ความรู้ความเข้าใจทางการเมืองของประชาชน
                  ตัวชี้วัดประชำธิปไตย
                  ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเป็นลำาดับ ดังจะพบว่าจุดมุ่งหมายหลักของประชาชนในทางการเมือง
                  คือการเจรจาต่อรอง (negotiate) กับนักการเมืองหรือรัฐบาลโดยเกี่ยวข้องกับการอนุญาต เช่นการสัมปทาน
                  และเกณฑ์กำรค�ำนวณ
                  การประกอบการทุกประเภทรวมถึงการทำาอาชีพเกษตรกรรม การห้าม เช่น กฎหมายหรือการถูกห้ามปราม

                  จากเจ้าหน้าที่รัฐทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และการให้ เช่น การจัดสรรงบประมาณ
                  คะแนน
                  การจัดให้อยู่ในข้อเว้น เช่น เศรษฐกิจพิเศษ หมู่บ้านป่าของผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (นิธิ เอียวศรีวงษ์, 2560)


                          สำาหรับแนวคิดกลุ่มเครือข่าย (social network) ในมิติทางการเมืองนับว่ามีความสำาคัญที่จะทำาให้
                  สามารถนำาไปใช้อธิบายพฤติกรรมทางการเมือง ปราฏการณ์ทางการเมือง และการตัดสินใจทางการเมือง
                  ในการเลือกตั้งได้เช่นเดียวกัน โดยกลุ่มเครือข่ายทางการเมืองมีผลต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนในสังคม

                  หลากหลายรูปแบบ ปัจจุบันกลุ่มการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้รับการอธิบายถึงการเคลื่อนไหวทางการเมือง

                  รูปแบบใหม่ (new social movement) ของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม
                  มีพลังในการต่อต้าน คัดค้านและผลักดันทำาให้รัฐและองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับศูนย์กลางอำานาจและ
                  ระดับย่อยปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรแบบราชการที่ยึดติดกับกฎระเบียบและกฎเกณฑ์

                  จนนำาไปสู่การไร้ซึ่งประสิทธิภาพหรือประสิทธิพลในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประชาชน

                  ส่วนใหญ่ในระดับฐานรากของสังคม (ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, 2545) ในการทำาความเข้าใจเกี่ยวกับกลุ่ม
                  เครือข่ายทางการเมืองนั้นมักเชื่อมโยงกับการอธิบายถึง “ขบวนการทางสังคม” (social movements) ใช้
                  อธิบายถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มคนจำานวนมากที่รวมตัวกันในลักษณะกระทำาการรวมหมู่ มีความเข้าใจร่วมกันว่า

                  มีผลประโยชน์ร่วมกัน มีตัวตนหรืออัตลักษณ์ (identity) เดียวกัน ลักษณะเด่นเฉพาะคือการใช้ หรือแสดงให้เห็นว่า

                  จะทำาการระดมมวลชน (mass mobilization) เป็นเครื่องมือสร้างอำานาจกดดันสังคม ประเด็นดังกล่าวนี้
                  แตกต่างจากการรวมหมู่ (collectivities) อื่น อาทิ สมาคม หรืออาสาสมัคร (voluntary associations) ซึ่งกลุ่มเหล่านี้
                  มีเป้าหมายหลักเพื่อปกป้องหรือเปลี่ยนแปลงสังคม คำาว่าขบวนการทางสังคมดังกล่าวนี้ถูกนำามาใช้ครั้งแรกโดย

                  Saint-Simon  เพื่ออธิบายกลุ่มขบวนการประท้วงทางการเมืองและสังคมในฝรั่งเศสและยุโรป พัฒนาต่อมา
                              3
                  ถูกนำามาใช้อธิบายพลังทางการเมืองที่ต่อต้าน/คัดค้าน/ไม่เห็นด้วยกับสภาพสังคมที่ดำาเนินอยู่ โดยเฉพาะขบวนการ
                  แรงงานในศตวรรษที่ 19 ในกลุ่มขบวนการชนชั้นกรรมาชีพต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมทุนนิยมอุตสาหกรรม


                  3   นักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศสใช้คำาดังกล่าวนี้ช่วงปลายศตวรรษที่ 18
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34