Page 34 - kpiebook63008
P. 34

34       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             (Almond & Verba, 1965, pp.22-26 )  ได้แก่ (1) แบบผสมระหว่างวัฒนธรรมการเมืองแบบปิดผสมแบบไพร่ฟ้า

             (parochial-subject culture) รูปแบบนี้คนไม่ยอมรับอำานาจของหัวหน้าเผ่าหรือหมู่บ้านแล้ว แต่จงรักภักดีต่อ
             ระบบการเมืองที่เปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อน มีรัฐบาลเป็นผู้มีอำานาจ แต่คนโดยส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่สนใจ

             เข้าร่วมทางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ (2) วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าผสมแบบเข้ามีส่วนร่วม
             (the subject-participant culture) รูปแบบนี้คนจะเริ่มมีปฏิกิริยาเรียกร้อง และเข้าร่วมในกิจกรรมทาง

             การเมือง เห็นถึงความสำาคัญในการเข้าร่วมที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ หากแต่ก็ยังคงมีคนจำานวนหนึ่ง
             ไม่สนใจในการเข้าร่วม และยังยอมรับอำานาจรัฐโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ  “ระบบอำานาจนิยม” ในสังคมมีผลทำาให้

             คนยอมรับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบนี้ และ (3) วัฒนธรรมการเมืองแบบปิดผสมแบบมีส่วนร่วม
             (the parochial-participation culture) รูปแบบนี้คนส่วนใหญ่ยังมีความจงรักภักดีแนบแน่นต่อหัวหน้าเผ่า

             หรือกลุ่มเชื้อชาติ  โดยคนส่วนหนึ่งมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม เข้ามีบทบาทในสังคม แต่ยังคงตกอยู่
             ภายใต้อิทธิพลแบบเก่า การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองจะเป็นไปในลักษณะที่มุ่งหวังประโยชน์ส่วนตัว หรือกลุ่ม

             เชื้อชาติ ไม่ยืดหยุ่นประนีประนอมในกลุ่มที่แตกต่างกัน สังคมจึงมีความขัดแย้ง ลักษณะหรือรูปแบบวัฒนธรรม
             การเมืองดังกล่าวข้างต้นนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในพัฒนาการสังคมการเมืองระหว่างศตวรรษที่ 19 และต่อเนื่อง

             มาถึงปัจจุบัน (ถึงปี 1965-ผู้เขียน) ฝรั่งเศส เยอรมัน และอิตาลี มีลักษณะความไม่แน่นอนเชิงโครงสร้างทำาให้มี
             การสลับกันไปมาระหว่างรัฐบาลอำานาจนิยมกับรัฐบาลประชาธิปไตย (authoritarian and democratic

             government) ซึ่งความไม่แน่นอนเชิงโครงสร้างดังกล่าวเป็นผลจากวัฒนธรรมดังกล่าวนี้ Almond และ
             Verba ได้เสนอวัฒนธรรมการเมืองแบบผสมเรียกว่า “วัฒนธรรมพลเมือง” (Civic Culture) โดยเน้นความ

             กระตือรือร้นและความมีเหตุผลในการเข้าร่วม (rationality-activist) แต่ขณะเดียวกันก็มีลักษณะการผสมผสาน
             วัฒนธรรมการเมืองแบบปิดและแบบไพร่ฟ้าอีกด้วย สิ่งที่สำาคัญเฉพาะคือ วัฒนธรรมการเมืองแบบพลเมืองนั้นให้

             ความสำาคัญกับการมีส่วนร่วมมากกว่า มีลักษณะสำาคัญ 2 ประการ (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2551, หน้า 130) ได้แก่
             (1) ความสามารถในการเป็นผู้อยู่ใต้การปกครองที่ดี (subject competence) และ (2) ความสามารถในการ

             เป็นประชาชน (พลเมือง) ที่ดี คือ การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเป็นเหตุเป็นผล


                      ในสังคมการเมืองยุคปัจจุบันโดยเฉพาะสังคมกำาลังพัฒนานั้น “ระบบการเมืองแบบพลเมือง”
             (Civic Polities) นั้นจะมีอยู่ทั่วไปเนื่องจากเข้าร่วมทางการเมือง หากแต่ขึ้นอยู่กับระดับการมีส่วนร่วม

             ทางการเมือง (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2551, หน้า 189-193) ได้แก่ (1) สังคม Organic มีลักษณะการมีส่วนร่วม
             ทางการเมืองระดับตำ่า หรือสังคมระยะแรก (2) สังคม Whig ลักษณะการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง และ

             (3) สังคม Participant มีลักษณะการมีส่วนร่วมทางการเมืองสูง  นอกจากนี้แล้วในการศึกษาบทบาททางการเมือง
             ของประชาชนหรือความก้าวหน้าทางการเมืองของสถาบันทางการเมืองก็คือ การนำาประเด็นว่าด้วยวัฒนธรรม

             การเมือง ความทันสมัย พัฒนาการทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองมาอธิบายระดับ “ความเป็น
             สถาบันทางการเมือง” (political institutionalization) ว่าในแต่ละสังคมการเมืองต่าง ๆ ที่มีอยู่นั้นเป็นอย่างไร

             สิ่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ สังคและการเมืองอย่างไรบ้าง ความแตกต่างในมิติว่าด้วยความเป็นสถาบันทางการเมือง
             และความทันสมัยทางการเมือง มีประเด็นที่สามารถนำามาพิจารณาที่สำาคัญ ประกอบด้วย
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39