Page 37 - kpiebook63008
P. 37

37








                  นโยบายจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำาที่มีบทบาทมากที่สุดในการตัดสินใจ ผู้นำาแบบเผด็จการจะใช้อำานาจ

                  หน้าที่ในการตัดสินใจโดยไม่ให้ความสำาคัญความคิดเห็นของผู้อื่น จะกำาหนดนโยบายในแนวทางที่ตนคิดว่าดีที่สุด
                  ขณะที่ผู้นำาแบบนักบริหารจะใช้ตัดสินใจกำาหนดนโยบายภายใต้การให้ความสำาคัญกับความชอบธรรมและ

                  ประสิทธิผล อย่างไรก็ตามทั้งสองหลักการก็อาจอยู่ตรงกันข้ามกันได้ นโยบายที่มีประสิทธิผลสูงสุดเป็นสิ่งที่ปรารถนา
                  แต่หากไม่ได้รับการยอมรับจากคนส่วนใหญ่ก็อาจทำาลายตัวผู้ปกครองได้






                  แนวคิดกำรตัดสินใจเลือกของส่วนรวม (public choice) แนวคิดควำม


                  เป็นเหตุเป็นผล (rational choice) แนวคิดกำรตลำดกำรเมือง (political

                  marketing) และแนวคิดกำรสร้ำงภำพลักษณ์ทำงกำรเมือง (political image)





                          ในปัจจุบันการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนนั้นมีลักษณะเป็นพลวัตรกล่าวคือมีการเคลื่อนไหว
                  และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยเป็นผลจากความคิดและการเรียนรู้ทางการเมือง (political socialization)

                  ที่เพิ่มมากขึ้นผ่านประสบการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงไปสู่
                  สังคมสมัยใหม่อันเป็นผลจากการปฏิวัติเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารทางการเมืองจึงมีความสำาคัญ

                  และถูกนำามาใช้ในทางการเมืองและการเลือกตั้งผ่านสิ่งที่เรียกว่า “การตลาดการเมือง” (political marketing)
                  นโยบายพรรคการเมืองและนักการเมือง รวมถึงภาพลักษณ์ทางการเมืองจึงถูกนำามาใช้เป็นกลยุทธ์การหาเสียง

                  และการโฆษณาหาเสียง (political campaign communication) เพื่อสร้างความตระหนักและการรับรู้
                  ในทางการเมืองของประชาชนว่าพรรคการเมืองและนักการเมืองของตนมีข้อเสนอในนโยบายและเป้าหมาย

                  ทางการเมืองที่จะนำาไปสู่การปฏิบัติในอนาคตหากเมื่อได้รับชัยชนะทางการเมืองอย่างไร (Trent, Judith S.,
                  Friedenberg, Robert V., and Denton Jr, Robert E., 2011)


                          การสื่อสารทางทางการเมืองนั้นนับว่ามีความสำาคัญต่อความสำาเร็จในชัยชนะทางการเมือง

                  ทั้งการหาเสียงเลือกตั้งของบรรดานักการเมืองและพรรคการเมือง รวมถึงความสำาเร็จของรัฐบาลในการบริหาร
                  ราชการ ทั้งนี้ด้วยผลของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่อมสร้างความรู้ความเข้าใจของประชาชน

                  ที่มีต่อรัฐบาลนับตั้งแต่การตัดสินใจด้านนโยบาย (decision making) และการนำานโยบายไปสู่การปฏิบัติ
                  (policy implementation) ทำาให้ได้รับการสนับสนุนพร้อมทั้งปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลนำาไปสู่โอกาส

                  ที่จะได้รับเลือกตั้งหรือการเข้าสู่อำานาจทางการเมืองในฐานะรัฐบาลอีกครั้งในอนาคต ทั้งนี้การกำาหนดยุทธศาสตร์
                  การสื่อสารการเมืองต้องเป็นรูปธรรมและมีแผนปฏิบัติการรองรับ (action plan) รวมถึงกลยุทธ์ มีหลักการ

                  พื้นฐานที่เป็นเหตุผลสามารถนำาไปจัดการให้บรรลุเป้าหมาย (Comerford and Callaghan, 1985 อ้างถึงใน
                  สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, 2545, หน้า 161 – 160) ประกอบด้วย
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42