Page 39 - kpiebook63008
P. 39
39
เลือกของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง ที่คาดหวังว่า หากพรรคและนักการเมืองที่เป็น
สมาชิกพรรคดังกล่าวได้เป็นรัฐบาลย่อมทำาให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น (Breton 1978, McKenzie and Tullock,
1978, Wiseman, 1978, Frey, 1978 และ Buchanan, 1978 อ้างถึงใน อนุสรณ์ ลิ่มมณี, 2555, หน้า 95-98)
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจะพบว่าด้วยพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป การมุ่งผลผลิต
นโยบายสาธารณะของพรรคการเมืองและนักการเมืองในภาพรวมจึงอาจไม่สามารถตอบโจทย์หรือสนอง
ความต้องการของประชาชนในแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างหลากหลายได้ ดังนั้นจึงปรากฏการดำาเนินนโยบาย
ของพรรคการเมืองและโดยเฉพาะรัฐบาลที่มุ่งตอบสนองต่อประชาชนแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน
สำาหรับทฤษฏีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล (rational choice theory) ของ Jon Elster (ไชยยันต์ ไชยพร,
2560 หน้า 88 - 97) นั้นกล่าวได้ว่ามีแนวทางในการอธิบายพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในฐานะ
ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและพฤติกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองในฐานะผู้มีบทบาททางการเมืองเช่นเดียวกันทฤษฎี
การตัดสินใจเลือกของส่วนรวมซึ่งอนุสรณ์ ลิ่มมณี (2555) โดย Jon Elster อธิบายว่าการกระทำาหรือพฤติกรรม
ที่เกิดขึ้นที่จะถือเป็นการตัดสินใจเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ต้องเป็นการกระทำาที่สนองตอบต่อเงื่อนไขที่พอใจ
ที่สุด (optimality conditions) 3 ประการ ประกอบด้วย ประการแรก ผู้กระทำาต้องมีความปรารถนาหรือ
ความชอบบางอย่าง ขณะเดียวกันความปรารถนาไม่จำาเป็นต้องเป็นความปรารถนาที่เป็นเหตุเป็นผลเท่านั้น
แต่เป็น “ตัวขับเคลื่อนที่คงที่”ถูกใช้ประเมินความเป็นเหตุเป็นผลของการกระทำา ประการที่สอง ตัวการกระทำา
ต้องเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะทำาให้ผู้กระทำาสามารถบรรลุสิ่งที่ปรารถนา โดยขึ้นอยู่กับความเชื่อและข้อมูลข่าวสาร
ที่ตัวผู้กระทำามีอยู่ และประการที่สาม ตัวความเชื่อดังกล่าวต้องเป็นข้อมูลที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่ตัวผู้กระทำาจะมี
ได้ โดยปริมาณทรัพยากรที่ใช้ในการได้มาซึ่งข้อมูลต้องเหมาะสมที่สุดหรือน่าพอใจที่สุดด้วย
ทั้งนี้การกระทำาที่เป็นเหตุเป็นผลดังกล่าว เป็นการที่คนแต่ละคนเลือกที่จะทำาในสิ่งที่ทำาให้ตนได้รับ
ประโยชน์สูงสุด (maximization) อาจอยู่ในรูปอรรถประโยชน์ (utility) การสนองความถึงพอใจ (preference)
การสนองความต้องการสูงสุดเท่าที่สามารถจะได้รับจากการเลือกแบบต่าง ๆ ที่มีอยู่ ในทางเลือกที่เป็นเหตุ
เป็นผล (rational choice) เป็นทางเลือกที่ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เลือก โดยมีต้นทุนน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบ
กับทางเลือกอื่น ๆ
แนวคิดประชำธิปไตยและกำรมีส่วนร่วมทำงกำรเมือง (political participation
and democracy)
คำาอธิบายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งในการเมืองระบอบประชาธิปไตยนั้นมักได้รับการอธิบายถึง
บทบาท หน้าที่และสิทธิทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้ง ถึงกับมีคำากล่าวที่ว่า อำานาจของประชาชน
อยู่ที่การเลือกตั้งและคูหาการเลือกตั้งนั่นเองที่เป็นพื้นที่สาธารณะที่สำาคัญ “การมีส่วนร่วมของประชาชน