Page 43 - kpiebook63008
P. 43

43








                  นั้นจะเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ค่านิยมและพฤติกรรมทางการเมือง รวมถึงวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน

                  เป็นความสัมพันธ์ภายใต้การพึ่งพาระหว่างนักการเมืองที่มุ่งหวังคะแนนเสียงสนับสนุนโดยมีเป้าหมาย
                  คือการชนะการเลือกตั้ง ขณะที่ประชาชนในท้องถิ่นจะมีวัฒนธรรมทางการเมืองที่ให้ความสำาคัญกับความต้องการ

                  ให้นักการเมืองเข้ามาช่วยเหลือหรือแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนจากปัญหาการขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐาน
                  ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมและการปฏิบัติการทางการเมืองของนักการเมืองจังหวัดกาญจนบุรี

                  ที่พบคือการให้คำามั่นสัญญา การให้คำาปรึกษา และการนำาเสนอโครงการหรือแผนงานการพัฒนท้องถิ่นผ่าน
                  ผู้นำาชุมชนและท้องถิ่น ทั้งนี้ความสำาเร็จทางการเมืองด้วยการชนะการเลือกตั้งจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยความสำาเร็จ

                  หรือผลงานของนักการเมืองมากกว่าปัจจัยความสำาเร็จในหน้าที่การงานหรือภูมิหลัง/ประวัติของนักการเมือง
                  ซึ่งแม้ว่าจะมีภูมิหลังเป็นลูกหลานชาวบ้านหากแต่สามารถพัฒนาตนเองในด้านการศึกษาจนกระทั่งประสบ

                  ความสำาเร็จในอาชีพราชการ รวมถึงการเป็นอดีตนายทหารระดับสูงมาก่อนก็มิได้เป็นปัจจัยที่จะสามารถทำาให้
                  ประสบความสำาเร็จทางการเมืองหรือชนะการเลือกตั้งได้แต่อย่างใด


                          สำาหรับงานศึกษาของไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ (2551) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย พบว่ากลุ่มสนับสนุน

                  นักการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับประชาชนในช่วงเริ่มต้นระหว่างปี 2476-2500 มีพื้นฐาน
                  จากความสัมพันธ์ในตระกูลเครือญาติ แต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงนับจากปี 2512 ด้วยเกิดกลุ่มเครือข่ายนักธุรกิจ

                  ที่เข้าสู่การเมืองระดับชาติ มีความสัมพันธ์ระหว่างนักธุรกิจระหว่างจังหวัด การสนับสนุนจากกลุ่มธุรกิจค้าไม้
                  เริ่มมีการซื้อเสียง การใช้อิทธิพลกับหัวคะแนน การสร้างระบบอุปถัมภ์ ต่อมาระหว่างปี 2531-2535 การเมือง

                  มีลักษณะ 2 แบบ นักการเมืองส่วนหนึ่งมีพฤติกรรมเชิงอุดมการณ์ และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มธุรกิจแบบธนกิจ
                  การเมือง โดยที่นับจากปี 2538 เป็นต้นมา กลุ่มนักการเมืองที่ยึดอุดมการณ์ประชาธิปไตยพ่ายแพ้ ไม่ชนะ

                  การเลือกตั้งอีกเลย ในขณะที่ในพื้นที่ยังไม่ปรากฏการจัดตั้งเครือข่ายการเมืองที่เด่นชัด แม้ว่าจะมีกลุ่มการเมือง
                  เข้มแข็ง 3 ตระกูล ประกอบด้วย ตระกูลแสงเจริญรัตน์ ตระกูลเร่งสมบูรณ์สุข และตระกูลทิมสุวรรณ ซึ่งล้วน

                  แล้วแต่เป็นกลุ่มทำาธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทั้งสิ้น และการสัมปทานเหมืองแร่ ภายใต้ 3 ตระกูลมีการแบ่งพื้นที่
                  ทางการเมืองแบบประนีประนอมและจัดสรรที่ลงตัว ทำาให้มีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองที่ต่อเนื่องจนถึง

                  ปี 2548 จึงไม่ปรากฏการแข่งขันในลักษณะตลาดการเมืองที่แท้จริง

                          สำาหรับวิธีการและรูปแบบการหาเสียงระหว่างปี 2476-2500 ใช้การเดินหาเสียงตามหมู่บ้าน ใบปลิว

                  โปสเตอร์ ภาพยนต์ การจัดเลี้ยง แจกสิ่งของ เช่น นำ้าปลา ปลาร้า ปลาทูเค็ม รองเท้า ในขณะที่นักการเมือง

                  บางคนใช้การปราศรัยนำาเสนอนโยบายการพัฒนาความเจริญในพื้นที่ การนำาเสนอภาพลักษณ์หัวหน้าพรรค
                  การปล่อยข่าวลือโจมตีให้ร้ายคู่แข่ง อย่างไรก็ตามนับจากปี 2518 เริ่มมีการซื้อเสียง จัดเลี้ยง จัดตั้งเครือข่าย
                  หัวคะแนน นักการเมืองที่มีพื้นฐานนักธุรกิจเลือกใช้การเงินและอุปถัมภ์หัวคะแนน โดยที่ไม่เน้นการปราศรัย

                  นับจากปี 2538 เป็นต้นมามีการนำารูปแบบการบริหารธุรกิจและการสร้างฐานะคะแนนเสียง และการสร้าง

                  ความสัมพันธ์ใกล้ชิดข้าราชการผู้ใหญ่ในจังหวัดสำาหรับควบคุมและใช้ประโยชน์จากกลไกราชการ มีกลุ่ม
                  การเมืองระดับชาติช่วยเหลือในลักษณะที่เรียกว่า “มุ้งการเมือง” เพื่อสร้างความเข้มแข็งในอำานาจทางการเมือง
                  นับจากปี 2535-2548 ระบบอุปถัมภ์และเงินทุนเป็นปัจจัยสำาคัญต่อความสำาเร็จทางการเมือง ในขณะที่ปัจจัย
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48