Page 46 - kpiebook63008
P. 46
46 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
นอกจากนี้แล้วยังมีงานศึกษาในมิติอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น งานศึกษาเรื่องวิกฤตความแตกแยก
ว่าด้วยสถาบันและวัฒนธรรมการขึ้นสู่อำานาจในระบอบประชาธิปไตยของไทย ศึกษากรณีความรุนแรง
ในการเลือกตั้ง 2554 โดยมีสมบัติ จันทรวงศ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และมีประจักษ์ ก้องกีรติ เป็นทีมวิจัย
ซึ่งประจักษ์ฯ นำามาเขียนเป็นหนังสือเรื่อง “เลือกตั้งไม่นองเลือด: ความรุนแรง ประชาธิปไตยกับการเลือกตั้ง
3 กรกฎาคม 2554 โดยประจักษ์ (2556, หน้า 25-29) ได้อธิบายถึงระดับความเข้มข้นและพลวัตรความขัดแย้ง
ในสังคมไทย โดยที่ความรุนแรงในระดับเลือกตั้งมีผลต่อการลดความชอบธรรมของการเลือกตั้งซึ่งดำารงอยู่
ในฐานะสถาบันการเปลี่ยนผ่านอำานาจที่สันติ การเลือกตั้งในหลายประเทศมีความรุนแรงที่แตกต่างกัน
และมีหลายรูปแบบและหลายช่วงเวลา ประกอบด้วย ช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้ง วันเลือกตั้ง และหลังวันเลือก
ตั้ง โดยความรุนแรงในช่วงเวลาก่อนการเลือกตั้งจะมุ่งทำาลายคู่แข่งมิให้มีโอกาสชนะการเลือกตั้ง มีได้ทั้งการข่มขู่
หรือสังหารผู้สมัครแข่งขัน หัวคะแนนหรือผู้สนับสนุน ขณะที่ความรุนแรงในวันเลือกตั้งมีเป้าหมายเพื่อให้
การเลือกตั้งสะดุดหรือเป้าหมายเพื่อให้ผู้สนับสนุนฝ่ายคู่แข่งมิกล้าออกมาใช้สิทธิลงคะแนน อาจมีทั้งการจ้างนักเลง
ไปข่มขู่หรือขัดขวางไม่ให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกไปใช้สิทธิ การใช้เจ้าหน้าที่รัฐทั้งทหารหรือตำารวจไปข่มขู่ประชาชน
ไม่ให้เลือกผู้สมัครหรือเลือกพรรคการเมืองอื่น มีรูปแบบต่าง ๆ เช่น การส่งกลุ่มทหารไปประจำาหน่วยเลือกตั้ง
การใช้วิธีการขัดขวางการเลือกนับคะแนน รวมถึงการลักพาตัวเจ้าที่หน้าที่นับคะแนน เป็นต้น ขณะที่
ความรุนแรงหลังการประกาศผลการเลือกตั้ง มีเป้าหมายเพื่อบิดเบือนหรือเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้ง การประท้วง
ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง การแสดงความไม่พอใจต่อความพ่ายแพ้ และต้องการให้ผลการเลือกตั้งเป็นโมฆะ
บทสรุป
การเลือกตั้งกับพฤติกรรมการ รูปแบบ วิธีการ กลยุทธ์การหาเสียง การรักษาฐานเสียง การจัด
ตั้งเครือข่ายกลุ่มผู้สนับสนุนและรวมถึงนโยบายของพรรคการเมืองนับว่ามีผลต่อชัยชนะในการเลือกตั้ง
อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ในการเมืองว่าด้วยการเลือกตั้งของไทยในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนัยว่า
มีความสำาคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่สังคมให้ความคาดหวังว่าจะมีความก้าวหน้า
มากขึ้น จนนำาไปสู่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ โดยการทำาหน้าที่ของนักการเมืองต้องดำาเนินอยู่
ภายใต้กรอบกติกาว่าด้วยการเป็นนักประชาธิปไตยที่มีความพร้อมในการเข้าทำางานในตำาแหน่งทางการเมือง
ในฐานะตัวแทนของประชาชน และประชาชนปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบในฐานะ
ผู้มีอำานาจตัดสินใจเลือกนักการเมือง ประชาชนจึงอยู่ในฐานะเจ้าของอำานาจที่พร้อมจะเลือกตัวแทนของตนเอง
ให้เข้าไปทำาหน้าที่เพื่อสนองตอบต่อความคาดหวังและข้อเสนอด้านนโยบายที่นักการเมืองและพรรคการเมือง
ให้คำามั่นสัญญาไว้ในการหาเสียงเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม คำาอธิบายดังกล่าวดูเสมือนว่าจะเป็นเพียงอุดมการณ์
แห่งความคาดหวังที่ยากจะเกิดขึ้นได้ในความเป็นจริงภายใต้ระบบการเมืองของไทย หากแต่เอาเข้าจริงแล้ว
ก็อาจมิได้ไกลเกินเอื้อม หากทั้งนักการเมือง พรรคการเมือง ประชาชน องค์กรและสถาบันต่าง ๆ รวมถึงสื่อมวลชน
จะร่วมกันติดตามตรวจสอบ ให้คำาชี้แนะ คำาแนะนำา ร่วมกันรับผิดชอบต่อความเป็นการเมืองดังกล่าว