Page 45 - kpiebook63008
P. 45
45
รวมถึงการปราศรัยในช่วงเวลาการหาเสียงเลือกตั้ง การสร้างความเป็นท้องถิ่นนิยม ทั้งนี้เพื่อรักษาฐานเสียงและ
สร้างคะแนนนิยม (บูฆอรี หยีมะ, 2549 และ รุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์, 2551)
สำาหรับนักการเมืองจังหวัดอื่น ๆ ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
สิ่งที่มีผลต่อความสำาเร็จในการเลือกตั้งของนักการเมืองล้วนแล้วแต่มีลักษณะและรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน กล่าวคือ
การเมืองในยุคอดีตส่วนใหญ่แล้วกลุ่มนักการเมืองมักมีพื้นฐานทางสังคม เศรษฐกิจและครอบครัว โดยเฉพาะ
พื้นฐานการเป็นข้าราชการ และกลุ่มธุรกิจพ่อค้าของจังหวัด ความเป็นตระกูลการเมืองจึงเกิดขึ้นจากพื้นฐาน
ดังกล่าว และทำาให้เกิดการผูกขาดในระยะแรกของการเมืองในระบบเลือกตั้ง เช่น ในจังหวัดพิษณุโลก
นักการเมืองในยุคแรกจะมาจากข้าราชการจนกระทั่งปี 2512 จึงเป็นเปลี่ยนมาเป็นนักการเมืองที่มาจากพ่อค้า
เช่น ตระกูลชามพูนุท ตระกูลภักดิ์ประไพ และไกรฤกษ์ สำาหรับสิ่งที่นักการเมืองใช้เป็นกลยุทธ์และรูปแบบ
การหาเสียงที่สำาคัญคือ การลงพื้นที่พบปะประชาชนอย่างสมำ่าเสมอ การเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่
การจัดตั้งระบบหัวคะแนน การสร้างเครือข่ายทางสังคม ดังนั้นความสัมพันธ์ส่วนบุคคลและพฤติกรรมส่วนตัว
ในพื้นที่เลือกตั้งจึงมีความสำาคัญต่อชีวิตความเป็นนักการเมือง (ชาญณวุฒิ ไชยรักษา, 2549) ในการเมืองจังหวัด
ฉะเชิงเทรา ภูมิหลังของนักการเมืองส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดี มีชื่อเสียงเป็น
ที่รู้จักของคนในพื้นที่ต่อเนื่องมาจากรุ่นบิดาหรือรุ่นพ่อ การสืบทอดทางการเมืองจึงมีลักษณะเป็นเครือญาติ
โดยเฉพาะสองตระกูลการเมืองสำาคัญคือ ตระกูลตันเจริญ และตระกูลฉายแสง โดยที่พรรคการเมืองที่สังกัด
มิได้มีผลต่อการตัดสินใจในการลงคะแนนเสียงของประชาชนมากนัก การเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราจึงเป็นเรื่อง
ของตัวนักการเมืองในการทำากิจกรรมหาเสียง การลงพื้นที่พบประชาชน การสร้างกลุ่มเครือข่ายสนับสนุน
ระบบหัวคะแนนในพื้นที่ (ศรุดา สมพอง, 2551)
ในการเมืองถิ่นว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ระดับจังหวัดนั้นแม้ว่า
จะมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากทั้งในพฤติกรรมการตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชน
และพฤติกรรมของนักการเมืองที่เกิดการเปลี่ยนถ่ายระหว่างนักการเมืองรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ก็ตาม หากแต่
ความเป็นตระกูลการเมืองของจังหวัดยังคงมีอิทธิพลในทางการเมืองค่อนข้างมาก ตัวอย่างเช่น ตระกูลการเมือง
ของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งประกอบด้วย 4 ตระกูลสำาคัญ ประกอบด้วย ตระกูลศิลปอาชา ตระกูลโพธสุทธน
ตระกูลเที่ยงธรรม และตระกูลประเสริฐสุวรรณ ซึ่งผลงานทางการเมืองนั้นได้รับการยอมรับและเป็นแรงจูงใจ
สำาคัญในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงสนับสนุนในการเลือกตั้ง หากแต่ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ด้วยมีคนรุ่นใหม่จำานวนมากที่เติบโตและมีบทบาททางสังคม เศรษฐกิจรวมถึงการเมืองเป็นลำาดับ คนรุ่นใหม่
เหล่านี้จึงมีค่านิยม ความคิดและความเชื่อทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย ผลก็คือความคิดต่างทางการเมือง
จึงมีมากขึ้นพร้อม ๆ กับการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่พร้อมจะเปลี่ยนไปให้การสนับสนุนนักการเมือง
และพรรคการเมืองอื่น ๆ ที่เข้ามาแข่งขันในสนามการเมืองของจังหวัด กรณีดังกล่าวชี้ให้เห็นอย่างเด่นชัด
ในผลการเลือกตั้งปี 2554 ที่ผู้สมัครจากพรรคการเมืองอื่นที่มิใช่ตระกูลการเมืองจากพรรคการเมือง
ขนาดใหญ่ที่ครองพื้นที่มาอย่างยาวนานคือพรรคชาติไทยพัฒนาจะชนะการเลือกตั้งได้ หากแต่ปรากฏว่า
ผู้สมัครจากพรรคการเมืองที่มุ่งเน้นการนำาเสนอนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและมุ่งหวังนำาไปนโยบายไปสู่
การปฏิบัตินั้นชนะการเลือกตั้ง (ณัฐพงศ์ บุญเหลือ, 2556)