Page 42 - kpiebook63008
P. 42

42       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี






             วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง



                      สำาหรับงานวิจัยหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในการศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และแนวคิดทาง
             การเมืองของนักการเมืองรวมถึงพรรคการเมืองในการหาเสียงเลือกตั้ง หรือการทำางานการเมืองที่เกี่ยวข้อง อาทิ

             งานศึกษาของกฤษณา ไวสำารวจ (2555) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการ
             เลือกตั้ง ระบบอุปถัมภ์ แนวคิดความเป็นผู้นำา แนวคิดธนกิจการเมือง แนวคิดการเชื่อมโยงเครือข่าย (networks)

             แนวคิดการเมืองโดยใช้ตลาดนำา (political marketing) ผลการศึกษาพบว่านักการเมืองถิ่นจังหวัดสมุทรสงคราม
             ที่เคยได้รับการเลือกตั้ง ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ คือ (1) การเป็นคนถิ่น (2) การเป็นอดีตขุนนางสายราชนิกูล

             (3) กลุ่มอาชีพราชการ ครูและนักกฎหมาย (4) กลุ่มนักธุรกิจหรือวานิชย์ เป็นผู้มีการศึกษา ผู้ทรงอิทธิพล
             ในท้องถิ่น (5) นักการเมืองหญิงชาวบ้าน และ (6) แกนนำาเครือข่ายประชาชน ในขณะที่ปัจจัยที่มีผล

             ต่อการเลือกตั้งที่สำาคัญ คือ (1) บทบาทของเครือญาติ เครือข่าย กลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมืองและผู้สมัคร
             ในการสนับสนุนนักการเมือง (2) วัฒนธรรมวิถีที่ใช้ในการหาเสียงและการจัดตั้งฐานเสียง


                      ในการศึกษาของนิพนธ์ โซะเฮง (2560) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดขอนแก่น ใช้กรอบแนวคิดบทบาท

             นักการเมือง เครือข่าย ความสัมพันธ์ทางการเมืองกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลผูกโยงกับมรดกทางประวัติศาสตร์และ
             วัฒนธรรมทางการเมืองไทย โครงสร้างอำานาจแบบรวมศูนย์อำานาจ หลักเศรษฐธรรม และแหล่งที่มาของอำานาจ

             ในการเมืองภาคประชาชนสำาหรับศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก นักการเมืองมักใช้ประโยชน์จากมรดก
             ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมไทย เช่น ระบบอุปถัมภ์ เครือข่ายกลุ่มข้าราชการท้องถิ่น ได้แก่ กำานัน ผู้ใหญ่

             บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) สถาบันทางการศึกษา สถาบันทางศาสนา โรงเรียน วัด เป็นต้น
             ประการที่สอง นักการเมืองจังหวัดขอนแก่นมักใช้ประโยชน์จากความเชิงอำานาจจากในอดีตคือกลุ่ม

             ข้าราชการก่อนที่จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างความสัมพันธ์อำานาจแบบใหม่ภายใต้ความเป็นประชาธิปไตย
             ที่มากขึ้น ภายใต้การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เช่น ความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้รับ

             การสนองตอบมากขึ้นผ่านนโยบายประชานิยมที่เป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการเมืองนับจากปี 2544 ถึงปัจจุบัน
             นับเป็นนโยบายที่เน้นการตลาดการเมือง ประการที่สาม ภายใต้กรอบหลักเศรษฐธรรม นักการเมืองขอนแก่น

             ต้องคำานึงถึงความอยู่รอด โดยอำานาจหน้าที่ของนักการเมืองมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์สาธารณะ
             (public interest) และผลประโยชน์ของประชาชน นักการเมืองจึงต้องเข้าถึงประชาชน และเข้าใจความต้องการ

             ของประชาชน สามารถนำาเสนอความต้องการของประชาชนเพื่อเป็นนโยบายของพรรคและนำาไปสู่การปฏิบัติ
             ที่เป็นรูปธรรมให้ได้ เป็นหนึ่งในวิธีการชนะการเลือกตั้งและการรักษาฐานอำานาจของตน หลักเศรษฐธรรม

             จึงเป็นวิถีการสร้างความชอบธรรมของนักการเมืองและการรักษาความอยู่รอดทางการเมือง


                      สำาหรับงานศึกษาของสุวิชา วรวิเชียรวงษ์ และณัฐพงศ์ บุญเหลือ (2560) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัด
             กาญจนบุรี ใช้กรอบแนวคิดความสัมพันธ์ระบบเครือญาติ แนวคิดระบบอุปถัมภ์ แนวคิดวัฒนธรรมการเมือง

             แนวคิดอำานาจและอิทธิพลทางการเมือง แนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง และแนวคิดการหาเสียงและการรักษา
             ฐานเสียง ผลการศึกษาพบว่าในการหาเสียงเลือกตั้งและการรักษาฐานเสียงในการเมืองถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47