Page 44 - kpiebook63008
P. 44

44       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             ความล้มเหลวในการเลือกตั้งมาจากข้อจำากัดด้านความสามารถเชิงเศรษฐกิจ วิธีการบริหารจัดการหัวคะแนน

             ข่าวลือ และพฤติกรรมส่วนตัวของนักการเมืองในระหว่างดำารงตำาแหน่งและไม่ได้ดำารงตำาแหน่ง


                        สำาหรับงานศึกษาของกรวิทย์ เกาะกลาง (2555) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดกระบี่นั้นพบว่า
             ความสำาเร็จในทางการเมืองมาจากปัจจัยด้านภูมิหลังของตัวนักการเมือง เริ่มจากการมีอาชีพที่มั่นคงโดยส่วนใหญ่

             เคยเป็นข้าราชการมาก่อน แต่การเข้าสู่การเมืองมีการวางแผนผ่านการสร้างเครือข่ายจากอาชีพเดิมซึ่งมีความ
             สำาคัญ เพราะมีเพื่อนร่วมอาชีพ ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและเครือชาติของคนเหล่านั้นให้การสนับสนุน

             ในขณะที่กลยุทธ์การหาเสียงที่สำาคัญ ประกอบด้วย (1) การพบปะชาวบ้านด้วยตนเอง การพบแกนนำา เป็น
             ปัจจัยที่นำาไปสู่การชนะใจประชาชน ทำาให้เกิดความผูกพัน ความภาคภูมิใจที่มีนักการเมืองมาพบถึงบ้าน ทำาให้

             ประชาชนเข้าใจและทราบถึงพฤติกรรมส่วนบุคคล การไม่ถือตัวเป็นสิ่งที่ทำาให้เกิดผลในวงกว้าง (2) การหาเสียง
             กับสถานศึกษา โดยเฉพาะสถานศึกษาที่มีชื่อเสียง ความเป็นศิษย์เก่า ทำาให้เกิดเครือข่าย ความเป็นเพื่อน พี่น้อง

             เกิดความภาคภูมิใจและยอมรับรวมถึงสนับสนุน (3) การหาเสียงกับกลุ่มสตรี ด้วยผู้หญิงเป็นกลุ่มคนที่บทบาท
             ทางสังคมและครอบครัวสำาคัญ การใช้วิธีการดูแลและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการศึกษาดูงาน (4) การหาเสียง

             กับผู้สูงอายุ ด้วยการเป็นผู้ประสานงานเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ การเลี้ยงนำ้าชา กาแฟ
             เพื่อสร้างความใกล้ชิด (5) การหาเสียงผ่านศาสนา แม้ว่าจะปรากฎไม่มากนักแต่การทำากิจกรรมทางศานา เช่น

             ศาสนาอิสลาม นับว่ามีผลต่อคะแนนเสียงเช่นเดียวกัน และ (6) การหาเสียงโดยพรรคการเมือง ในยุคแรกการเมือง
             กระบี่ไม่ได้ผูกพันกับพรรคการเมือง แต่เป็นเรื่องตัวบุคคล จนกระทั่งปี 2526 พรรคกิจสังคมนับเป็นการเมืองแรก

             ที่ชาวบ้านรู้จักและไว้วางใจ ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นพรรคประชาธิปัตย์จนกระทั่งถึงปัจจุบัน


                        นอกจากที่กล่าวข้างต้นแล้วยังมีงานศึกษาเกี่ยวกับนักการเมืองหลายชิ้นที่เกี่ยวข้องซึ่งพบว่า
             โดยรวมแล้วในปัจจุบันพฤติกรรมทางการเมือง กลยุทธ์ วิธีการและรูปแบบการหาเสียงเลือกตั้ง การดำาเนิน
             กิจกรรมทางการเมือง ก็มิได้แตกต่างกันโดยมากนัก เช่นงานศึกษาของบูฆอรี หยีมะ (2549) เรื่องนักการเมือง

             ถิ่นจังหวัดปัตตานี งานศึกษาเรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานีของรุจน์จาลักษณ์รายา คณานุรักษ์ (2551)

             งานศึกษาของศรุดา สมพอง (2550) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา งานของพิชญ์ สมพอง (2551)
             เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดยโสธร งานของชาญณวุฒิ ไชยรักษา (2549) เรื่องนักการเมืองถิ่นจังหวัดพิษณุโลก


                        โดยผลการศึกษานักการเมืองในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ เช่น จังหวัดปัตตานีและจังหวัดสุราษฎร์ธานี
             นั้น การตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนจะให้ความสำาคัญกับพรรคการเมืองเป็นลำาดับแรก ด้วยเป็นผล

             จากลักษณะของพื้นที่ที่เป็นฐานการเมืองที่ล้วนแล้วแต่สนับสนุนโดยมีความเชื่อร่วมกันว่าเป็นพรรคการเมือง

             ที่เป็นตัวแทนของคนในจังหวัดภาคใต้และความภูมิใจของพวกเขา พื้นฐานที่มาของความเชื่อดังกล่าวมาจาก
             การมองว่าพรรคการเมืองซึ่งก็คือพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีที่มาในการก่อตั้งชัดเจน ภายใต้คำากล่าวที่ว่า
             “พรรคเลือกคน ประชาชนเลือกพรรค” ในขณะที่นักการเมืองทำาหน้าที่เป็นตัวแทนในการเข้าไปแก้ไขปัญหา

             ความเดือดร้อน แต่ความเป็นนักการเมืองในพื้นที่ก็มิอาจปฏิบัติได้ถึงสิ่งที่ต้องกระทำา กล่าวคือการสร้าง

             ความสัมพันธ์ใกล้ชิด การมีระบบหัวคะแนนในทุกพื้นที่ การพบปะประชาชน การร่วมงานประเพณี การร่วม
             งานกิจกรรมสังคม การสร้างเครือข่ายร่วมสถาบันการศึกษา เครือข่ายอาชีพ เครือข่ายแม่บ้าน ระบบเครือญาติ
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49