Page 40 - kpiebook63008
P. 40
40 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
ที่เป็นการกระทำาอย่างเดียวที่สำาคัญที่สุดคือการเลือกตั้ง” และชี้ว่ารัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชน สาธารณชน
เลือกผู้กำาหนดนโยบาย... การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นหนทางเดียวเท่านั้นในการสื่อสัมพันธ์กับผู้ที่อยู่ใน
ตำาแหน่งหรือนักการเมือง” (เดวิด แมทธิวส์ เขียน. วันชัย วัฒนศัพท์ แปล., 2552, หน้า 89) คำาอธิบายดังกล่าว
มีความหมายเช่นเดียวกับฮับราฮัม ลินคอล์น อดีตประธานาธิบดีและรัฐบุรุษของสหรัฐอเมริกาในพิธีสดุดีทหาร
ณ สุสานเกสตรี้เบิร์ก (the Gettysburg Address) ว่า “ประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน
โดยประชาชนและเพื่อประชาชน” (the government of the people, by the people, for the
people) ซึ่งคำากล่าวดังกล่าวมีอิทธิพลต่อการเมืองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างมากจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
(Blaug, Ricardo and Schwarzmantel eds, 2000, p.91)
ทั้งนี้ภายใต้แนวคิดประชาธิปไตย นักทฤษฎีและนักคิดทางการเมืองที่มีชื่อเสียงได้รับการกล่าวถึง
มีอยู่เป็นจำานวนมากทั้งแนวคิดคลาสิคและสมัยใหม่ ซึ่งล้วนแล้วแต่กล่าวถึงหลักการสำาคัญของประชาธิปไตย
ว่าโดยถึงที่สุดแล้วประกอบด้วยสิ่งใดบ้าง ตัวอย่างนักคิดคนสำาคัญ ในกลุ่มที่เน้นเรื่องเสรีภาพและอิสรภาพ ได้แก่
ฌังค์ ฌาร์ค รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) ซึ่งผลิตงานเขียนที่มีชื่อเสียงเรื่อง “สัญญาประชาคม” (the Social
Contract) เอ็มมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) เรื่อง On the Common Saying: ‘This May Be True
in Theory but it Does not Apply in Practice’ งานของเบนจามิน คอนแสตนท์ (Benjamin Constant)
เรื่อง The Liberty of the Ancients Compared with that of the Moderns งานของ อิซะห์ เบอร์ลิน
(Isaiah Berlin) เรื่อง Two Concepts of Liberty และงานของ รอเบิร์ต พอล วูฟล์ (Robert Paul Wolff)
เรื่อง In Defense of Anarchism (Blaug, Ricardo and Schwarzmantel eds, 2000, pp.100-118)
สำาหรับ Seymour Martin Lipset ได้อธิบายระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยว่าเป็นลักษณะเฉพาะ
ของสังคม เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของระบบสังคม จึงมีความซับซ้อนผสมผสานทั้งความขัดแย้ง ความร่วมมือ
ของคนในสังคม กรณีของสังคมอเมริกันเป็นตัวอย่างที่มีทั้งความขัดแย้งและความร่วมมือที่มาจากการแข่งขัน
ต่อรองในกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ แนวคิดดังกล่าวเป็นไปในลักษณะเดียวกับ Robert A. Dahn ซึ่งเห็นว่ารัฐบาล
ในระบอบประชาธิปไตยเป็นของกลุ่มผลประโยชน์ ผู้ปกครองที่แท้จริงจึงคือกลุ่มผลประโยชน์ พรรคการเมือง
เป็นเพียงองค์กรทำาหน้าที่เสนอความคิดและนำาข้อเรียกร้องของกลุ่มผลประโยชน์เสนอต่อรัฐบาล กิจกรรม/
นโยบาย/โครงการของรัฐจึงเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องและตอบสนองต่อกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งกลุ่มผล
ประโยชน์ล้วนแล้วแต่มีอำานาจและอิทธิพล เพียงแต่อาจมีไม่เท่ากันเท่านั้น ซึ่งคำาอธิบายดังกล่าวดังกล่าวของ Dahn
นำามาสู่การอธิบายความเป็นสังคมพหุนิยมของอเมริกา (สุกิจ เจริญรัตนกุล, 2531, หน้า 71) สำาหรับ Lipset
นั้นเชื่อว่าผู้ปกครองที่มาจากคนกลุ่มน้อยที่เป็นตัวแทนพรรคการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจะเข้าไปทำาหน้าที่เพื่อ
คนส่วนใหญ่ที่เลือกพรรค และเห็นว่าสถาบันการเมืองและสถาบันราชการในระบอบประชาธิปไตยจะยืนอยู่กับ
เสียงส่วนใหญ่ของประชาชน โดยที่สังคมประชาธิปไตยจะประกอบไปด้วยลักษณะสำาคัญ 3 ประการ ประกอบด้วย
ประการแรก คนในสังคมมีปรัชญาความเชื่อร่วมกันว่าเสรีภาพทางการเมืองเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ประการที่สอง
กลุ่มผู้นำาการเมือง เป็นคนกลุ่มน้อยที่ครอบครองตำาแหน่งการเมืองรวมถึงมีบทบาทเป็นผู้ปกครอง และประการที่สาม
กลุ่มผู้นำาการเมืองอื่น ที่มิได้เป็นผู้ปกครองจะทำาหน้าที่ตรวจสอบติดตามการกระทำาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย