Page 35 - kpiebook63008
P. 35
35
ประการแรก ระบบการเมืองที่ทันสมัยมีความแตกต่างจากระบบการเมืองแบบประเพณี ในด้านขอบข่าย
ความสำานึกทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ประการที่สอง ระบบการเมืองที่ทันสมัยและพัฒนาแล้ว มีความแตกต่างจากระบบการเมือง
แบบประเพณีที่สภาพของสถาบันทางการเมือง
ประการที่สาม ระบบการเมืองที่ทันสมัยและพัฒนาแล้ว มีความแตกต่างจากระบบการเมืองที่ทันสมัย
แล้วที่ระดับของความเป็นสถาบันทางการเมือง และ
ประการที่สี่ ระบบการเมืองที่มีเสถียรภาพแตกต่างจากระบบการเมืองที่ไร้เสถียรภาพภายใต้สัดส่วน
ของความเป็นสถาบันทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
โดยสรุปแล้ว ระบบการเมืองของสังคมต่าง ๆ นั้นมีลักษณะ รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง เสถียรภาพ
และความมั่นคงทางการเมืองที่แตกต่างกันย่อมเป็นผลจากบริบทความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ความเป็น
ของรัฐชาติและวัฒนธรรมทางสังคมที่แตกต่างกัน หากแต่ความสำาเร็จในการก้าวไปสู่การเป็นสังคมการเมืองที่มี
การพัฒนาในระดับสูงนั้น พฤติกรรมทางการเมืองทั้งในกลุ่มของประชาชน นักการเมือง และพรรคการเมือง
ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงทั้งสิ้น
สำาหรับแนวคิดอิทธิพลและชนชั้นนำาของระบบการเมืองนั้น ในการศึกษานี้ผู้วิจัยเลือกนำาเฉพาะแนวคิด
ของ Harold D. Lasswell เพื่อหาคำาอธิบายที่ว่านักการเมืองจังหวัดกาญจนบุรีหรือกลุ่มอิทธิพลทางการเมือง
นั้นมีวิธีการใช้อำานาจและอิทธิพลอย่างไร ในการดำาเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง หรือ
การตัดสินใจลงคะแนนเสียงของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในทัศนะของ Lasswell (สุกิจ เจริญรัตนกุล, 2530,
หน้า 59-60) ผู้มีอิทธิพลนั้นเป็นผู้ครอบครองสรรพสิ่งที่มีคุณค่าที่มีอยู่เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ประชาชนได้รับ
เพียงบางส่วน ผู้ที่ครอบครองสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคมได้มากกว่าจึงย่อมเป็นผู้เหนือกว่า ขณะที่การเมืองเป็น
กระบวนการกระจายสิ่งมีคุณค่า (ทรัพยากร) แก่คนในสังคม ชนชั้นทางการเมืองจึงเป็นผู้กำาหนดกติกาใน
การจัดการ โดยสิ่งที่มีคุณค่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย ประเภทแรก คุณค่าด้านสถานภาพและ
เกียรติยศของบุคคล ได้แก่ อำานาจ (power) ความศรัทธานับถือ (respect) ความยุติธรรม (rectitude)
ความนิยมชื่นชอบ (affection) ประเภทที่สอง คุณค่าด้านสวัสดิการและความเป็นอยู่ของบุคคล ได้แก่
ความอยู่ดีกินดี ( well-being) ความมั่งคั่ง (wealth) ความรอบรู้ (enlightenment) และทักษะ (skill)
โดยคุณค่าเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ ในประเด็นด้านคุณค่า (1) “อำานาจ” จะเกี่ยวข้องกับการเป็นผู้มี
อิทธิพลและทำาให้เป็นเครื่องมือในการเข้าครอบครองสิ่งที่มีคุณค่าอื่น ๆ ได้มากขึ้น ขณะที่ (2) ความศรัทธานับถือ
เป็นปัจจัยส่งเสริมสนับสนุนให้เลื่อนสถานะเป็นผู้มีอิทธิพลได้ เป็นเรื่องของความรู้สึกที่บุคคลหนึ่งมีต่อบุคลหนึ่ง
มาจากการยอมรับนับถือทั้งจากสถานภาพทางสังคมและบทบาทในหน้าที่หรือตำาแหน่งงาน หรือเป็นผลจาก
ปฏิสัมพันธ์ส่วนบุคคล นอกจากนี้อาจมาจากบุคลิกภาพและความประพฤติของคนเหล่านั้น (3) ความยุติธรรมเป็น
สิ่งที่นำามาสู่ความเสมอภาค เป็นที่ต้องการของสังคม ผู้มีความยุติธรรมย่อมได้รับการยกย่องจากบุคคลอื่น สำาหรับ