Page 38 - kpiebook63008
P. 38

38       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







                      ประการแรก ปัจจัยสารสารเทศ หรือกระบวนการ เกี่ยวข้องกับ (1) ผู้ส่งสาร คือ นักการเมือง

             พรรคการเมือง องค์กรหรือสถาบันทางการเมือง (2) สารสนเทศทางการเมือง ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระการสื่อสาร
             ทางการเมืองโดยตรง เพื่อใช้เป็นข้อมูลทางการเมือง ต้องมีการกลั่นกรอง มีการจัดระเบียบสามารถนำาไปใช้ได้

             สามารถปรับเปลี่ยน ขยายตัว หรือทดแทนข้อมูล สารสนเทศที่ดีจึงต้องมาจากประมวลข้อเท็จจริงและการวิเคราะห์
             ที่ดีมีความเหมาะสมต่อการนำาไปใช้ (3) ช่องทางการสื่อสาร สื่อสารมวลชนนับเป็นช่องทางหลักที่มีความสำาคัญ

             เป็นหน่วยที่มีอิทธิพลหรือเป็นเครื่องมือในการทำาให้ประชาชนมีแนวคิดที่เห็นด้วยหรือสนับสนับสนุน ยุทธศาสตร์
             การสื่อสารการเมืองจึงอยู่ที่วิธีการสร้างอิทธิพลเหนือระบบสื่อมวลชน ปัจจุบันสิ่งที่มีผลอิทธิต่อการความคิด

             ความเชื่อและความรู้ทางการเมืองได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยและก้าวหน้า
             เป็นอย่างมาก รัฐบาล พรรคการเมืองและนักการเมืองจึงจำาเป็นต้องมีการปรับตัวและพัฒนาขีดความสามารถ

             ในการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม และ (4) ผู้เปิดรับสื่อการเมืองหรือประชาชน โดยที่ประชาชนอยู่ในฐานะผู้รับข้อมูล
             ข่าวสารทางการเมือง ทั้งนี้มีความแตกต่างกันออกไปในกลุ่มคนที่หลากหลาย โดยผู้ที่มีความรู้ทางการเมืองจะมี

             ความซับซ้อนในการเข้าใจและตระหนักถึงความสำาคัญทางการเมือง มีความใกล้ชิดและผูกพันกับพรรคการเมือง
             ที่ตนสังกัด มีความเชื่อมั่นในพรรคการเมือง และให้ความสำาคัญกับความชอบธรรมทางการเมืองมากกว่า

             คนทั่วไป ประการที่สอง การจัดการยุทธศาสตร์เชิงเงื่อนไข เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบโครงสร้าง การพัฒนาระบบ
             การสื่อสารทางการเมือง และการเจรจาต่อรองเพื่อประโยชน์ทางการเมือง และประการที่สาม ปัจจัยออกทางการเมือง

             หรือนโยบาย ประกอบด้วย นโยบายการสื่อสารองค์การ การไหลเวียนสารสนเทศ และนโยบายในภาวะวิกฤต


                      สำาหรับแนวคิดและทฤษฏีที่มีความสำาคัญต่อการนำามาอธิบายและวิเคราะห์ทัศนคติ ความคิด
             ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเมืองของรัฐบาล พรรคการเมือง นักการเมืองและประชาชน

             อีกประการคือ ทฤษฏีว่าด้วยการตัดสินใจเลือกของส่วนรวม (public choice theory) (อนุสรณ์ ลิ่มมณี, 2555)
             แนวคิดนี้มองว่าทั้งรัฐบาล พรรคการเมือง นักการเมืองและประชาชนต่างตัดสินใจทางการเมืองภายใต้ความ

             ต้องการในอรรถประโยชน์สูงสุด โดยมีสมมติฐาน 4 ประการ กล่าวคือ ประการแรก การซื้อขายแลกเปลี่ยน
             ในระบบตลาด (exchange) ซึ่งรัฐบาล พรรคการเมือง นักการเมือง อยู่ในฐานะผู้ผลิตสินค้าและบริการสาธารณะ

             ในรูปนโยบายเพื่อให้ประชาชนในฐานะผู้บริโภคหรือผู้ซื้อสินค้า (customer) ซึ่งฝ่ายการเมืองย่อมต้อง
             คิดค้นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนโดยรวม ประการที่สอง ประชาชน

             จะมีลักษณะที่เป็นปัจเจกชนและมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ของตนเองและเห็นแก่ตัว พฤติกรรมเห็นแก่ตัว
             ดังกล่าวรวมถึงรัฐบาลหรือนักการเมืองด้วยเช่นกัน โดยรวมแล้วพฤติกรรมและความต้องการของคนส่วนใหญ่

             จะมีลักษณะที่เหมือนกันหรือย่อมเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ประการที่สาม การตัดสินใจเลือกอย่างมีเหตุผล
             โดยการตัดสินของประชาชนมีหลักการพื้นฐานที่มาจากความสามารถในการจัดลำาดับความต้องการสูงสุดของ

             ตนเอง ดังนั้นการตัดสินใจทางการเมืองด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกนักการเมืองและพรรคการเมืองจึงมีเหตุผล
             เฉพาะของตน และประการที่สี่ การมุ่งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (maximization of unitality) โดยมองว่าพฤติกรรม

             ของประชาชนเป็นพฤติกรรมที่มุ่งประโยชน์สูงสุดอย่างมีเหตุผล เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะกระทำาสิ่งที่เป็นประโยชน์
             และความต้องการของตนเองอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับที่รัฐบาลจะมุ่งดำาเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่คาดหวัง

             ว่าจะได้รับการสนับสนุนหรือการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคและสมาชิกพรรคของตนเองมากที่สุด หรือการ
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43