Page 33 - kpiebook63008
P. 33

33








                  ความเข้าใจต่อระบบการเมืองในระดับหนึ่ง รู้ว่าใครปกครอง ใช้ระบอบใด  มีการยอมรับอำานาจรัฐ

                  เคารพกฎหมาย แต่กระนั้นก็ไม่เรียกร้อง รวมถึงไม่เข้ามีส่วนร่วมทางการเมือง โดยเห็นว่ามีฐานะเป็นเพียง
                  ประชาชนธรรมดา มีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายและคำาสั่งมากกว่า และ ประเภทที่สาม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบ

                  มีส่วนร่วม (participant political culture) ประเภทนี้สมาชิกสังคมจะมีความรู้ ความเข้าใจ ผูกผัน รวมถึง
                  การเข้าเรียกร้อง หรือเข้ามีส่วนร่วมในรูปแบบที่หลากหลาย รู้และเข้าใจนโยบายของรัฐ เป้าหมายเพื่อให้ระบบ

                  การเมืองตอบสนองความต้องการ และรู้ว่าสังคมจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงหากเข้าร่วมทางการเมือง





                  ตำรำง 2.2 วัฒนธรรมทำงกำรเมืองกับกำรรับรู้ ควำมเข้ำใจ ควำมผูกพันและกำรประเมินค่ำทำงกำรเมือง





                      ประเภทวัฒนธรรม                กำรรับรู้ ควำมเข้ำใจ ควำมผูกพัน กำรประเมินค่ำ

                          กำรเมือง
                                            ระบบทั่วไป    ปัจจัยน�ำเข้ำ ปัจจัยน�ำออก    กำรมีส่วนร่วม

                                             (General)      (Input)      (Output)      (Self as active
                                                                                        participant)

                   แบบปิด (Parochial)            0             0             0                0

                   แบบไพร่ฟ้า (Subject)          1             0             1                0

                   แบบมีส่วนร่วม (Participant)   1             1             1                1

                  ที่มา: Gabriel A. Almond & Sidney Verba, The Civic Culture: Political Attitudes and Democracy

                  in Five Nations, (Boston: Little, Brown and Company, 1965), p.16.





                          ทั้งนี้วัฒนธรรมการเมืองเป็นแนวปฏิบัติทางการเมือง (political orientation) มีพื้นฐานจากความรู้

                  ต่อระบบการเมือง ได้แก่ ปัจจัยนำาเข้า ปัจจัยนำาออก และบทบาทของตนต่อระบบการเมือง ทั้งนี้มาจาก

                  องค์ประกอบ 3 ประการ (Almond & Powell, 1965, pp.20-22) ประกอบด้วย (1) การวางแนวการรับรู้
                  (cognitive orientation) เป็นความรู้ความเข้าใจที่ระบบการเมือง ปัจจัยนำาเข้า และปัจจัยนำาออก
                  (2) การวางแนวความรู้สึก (affective orientation) เป็นความโน้มเอียงความรู้สึกต่อระบบการเมือง ผู้มีอำานาจ

                  ทางการเมือง ปัจจัยนำาเข้าและปัจจัยนำาออกของระบบการเมือง และ (3) การวางแนวประเมิน (evaluation

                  orientation) เป็นการประเมินคุณค่าของบุคคลต่อประสิทธิภาพของระบบการเมือง


                          อย่างไรก็ตามในสภาพความเป็นจริงแล้วรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละสังคมนั้นยาก
                  ต่อการจัดแบ่งประเภท มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมย่อย ๆ และที่ปรากฏหรือเกิดขึ้นนั้นมักเป็นรูปแบบผสม
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38