Page 28 - kpiebook63008
P. 28
28 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี
“ประชาธิปไตยครึ่งใบ” ทั้งนี้เป็นผลจากอิทธิพลที่เป็นมรดกจากบริบทของสังคมไทย (patrimonial political)
เช่น ระบบศักดินา (feudal) การรวมศูนย์อำานาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในอดีต ระบบเครือญาติและ
วงศ์ตระกูล (kinship and descent) ซึ่งล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสถาบันทางสังคม (social institution)
ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ (patronage-client relations) ประกอบด้วย 2 ส่วนสำาคัญคือ ผู้อุปถัมภ์
(patron) กับผู้รับอุปถัมภ์ (client) โดยฝ่ายแรกเป็นบุคคลที่มีอำานาจและฉันทานุมัติ ส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อนายจ้าง
หรือผู้สนับสนุน/ช่วยเหลือเสมือนผู้อุปการะ นักบุญอุปถัมภ์ หรือเจ้าพ่อที่มีลูกน้องหลายคนผ่านจัดกิจกรรมหรือ
พิธีกรรมต่าง ๆ ในขณะที่ฝ่ายหลังต้องการความช่วยเหลือรวมถึงกการปกป้องและคุ้มครอง มีความต้องการ
อย่างมากในการความคาดหวังต่อประโยชน์หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากผู้อุปถัมภ์ ในอดีตนั้นปรากฏใน
สังคมศักดินา (feudal) และต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของบริบททางสังคม ความสัมพันธ์มีลักษณะเป็นต่างตอบแทน
(reciprocal relationships) มีทั้งสัญญาที่เป็นทางการ ด้วยการกำาหนดความผูกพันสองฝ่ายชัดเจน หรืออาจ
ไม่เป็นทางการ ฝ่ายผู้รับการอุปถัมภ์มักเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เป็นผู้อ่อนแอกว่าในทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
และผู้อุปถัมภ์พึ่งพาผู้รับการอุปถัมภ์ในบางสถานการณ์ เช่น การเลือกตั้งหรือกรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม
ทั้งนี้ระบบอุปถัมภ์นั้นมีหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบบิดาอุปถัมภ์ และรูปแบบการใช้อำานาจกดขี่ รูปแบบแรกนั้นมี
2
ลักษณะบารมีและมิได้ใช้กำาลังบังคับหรือข่มขู่ให้ต้องวาดกลัวในอำานาจและอิทธิพลที่มี ในขณะที่รูปแบบที่สองนั้น
เป็นการใช้การบังคับซึ่งเกี่ยวข้องกับอิทธิพลที่ทำาให้เกิดความเกรงกลัวยินยอมอยู่ใต้อำานาจ อย่างไรก็ตาม
ความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับผู้รับการอุปถัมภ์มีรูปแบบที่ยากต่อการจัดประเภท (Foster, 1963 และ Mair,
1961 อ้างถึงใน ปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2554, หน้า 234-238)
ในอดีตความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์และผู้รับอุปถัมภ์ปรากฏชัดในสังคมชาวนา ระหว่างเจ้าของ
ที่ดิน (นา) กับตัวชาวนา นำามาสู่การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ภายใต้ระบบ
“การเช่าที่นา” และวิถีการผลิตการเกษตร มีผลต่อเจ้าของที่ดินในการใช้แรงงานราคาถูกและการแสวงหา
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมายาวนานแม้แต่ประเทศอาณานิคมที่มีสเปนและโปรตุเกสเป็น
ผู้ปกครอง ระบบดังกล่าวนี้ได้พัฒนาและผันแปรมาเป็นระบบทุนนิยมภายใต้ระบบการค้าโลกในยุคปัจจุบัน
(Bloch, 1961 และ Stavenhagan, 1963 อ้างถึงใน ปรีชา คุวินทร์พันธ์, 2554, หน้า 234-238) สำาหรับสังคม
กำาลังพัฒนาบทบาทของผู้อุปถัมภ์ตามประเพณีต่อสังคมนั้นมีค่อยข้างมากและปรากฏให้เห็นชัด มีลักษณะที่
เชื่อมโยงสถานภาพทางสังคมของคนจากระดับตำ่าไปถึงระดับชาติโดยไม่จำาเป็นต้องผูกติดกับระบบราชการที่มี
ระเบียบมากมาย และแม้ว่าจะมีความพยายามในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุตสาหกรรม ผู้อุปถัมภ์
ยังคงมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำา (เมื่อถูกร้องขอ) เพื่อติดต่อกับหน่วยงานราชการ ผู้อุปถัมภ์
ตามประเพณี (ในฐานะเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่ง) อาจมีอำานาจมากกว่า/ ในระดับเดียวหรืออย่างน้อยที่สุดก็ใกลเคียง
กับเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตาม ตัวผู้อุปถัมภ์ตามประเพณีนั้นมิได้มีลักษณะที่หยุดนิ่งตายตัวอาจมีการเปลี่ยนแปลง
2 ในอดีตระบบแบบปิดมีลักษณะเป็นแบบบิดาอุปถัมภ์ โปรตุเกสนำาระบบดังกล่าวนี้เข้าปกครองในบราซิลตะวันออกเฉียงใต้
มีการใช้อำานาจกดขี่ในบางครั้ง ทำาหน้าที่คล้ายครอบครัวขยาย ประกอบด้วยหัวหน้าครอบครัวรับผิดชอบสวัสดิการผู้ใต้อำานาจ
ครอบครัวทาสและแรงงานอิสระ ขณะที่รัฐศูนย์กลางอำานาจไม่เข้มแข็งพอ ทำาให้ชุมชน (หมู่บ้าน) มีความเป็นอยู่แบบโดดเดี่ยว
ระบบอุปถัมภ์จึงเป็นทางเลือกที่ยากปฏิเสธของชาวไร่ชาวนา: ดูเพิ่มเติมใน ปรีชา คุวินทร์พันธุ์, 2554, หน้า 237)