Page 32 - kpiebook63008
P. 32

32       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาญจนบุรี







             และ (4) ความเป็นสากลโลก (secularization) คือการมีความเชื่อ การดำาเนินชีวิตอย่างมีเหตุผล มิใช่เกิดจาก

             ความเชื่อแบบงมงาย ในขณะที่ Almond และ Powell เห็นว่าความทันสมัยเป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลง
             รูปแบบของสังคมแบบดั้งเดิม ประกอบด้วย (1) การมีโครงสร้างสังคมซับซ้อน หลากหลายมากขึ้น (structural

             differentiation) และ (2) การมีการสร้างความเชื่อ วัฒนธรรมแบบโลก ไม่เห็นด้วยกับความคิดหรือความเชื่อ
             ในวัฒนธรรมแบบงมงายไร้เหตุผล (secularization of political culture) สำาหรับ Huntington เห็นว่าเป็น

             กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดและกิจกรรมของคน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงค่านิยม ทัศนคติ
             ความคาดหวังจากเดิมที่เชื่อว่าสิ่งดังกล่าวเป็นไปตามแนวทางของมัน ไม่เชื่อการเปลี่ยนแปลง หรือการควบคุม

             โดยมนุษย์ โดยที่สังคมทันสมัยจะมีลักษณะที่ยืดหยุ่น (mobile personality) สามารถปรับตัวได้กับการ
             เปลี่ยนแปลง เป็นการเปลี่ยนความเชื่อจากความจงรักภักดี และการยึดมั่นในกลุ่มที่เป็นส่วนตัว อาทิ ครอบครัว ญาติ

             และกลุ่มชนบท ไปสู่กลุ่มที่ไม่ใช่เฉพาะส่วนตน (ชนชั้น และชาติ) เปลี่ยนค่านิยมที่มีลักษณะเจาะจง
             (particularistic) เป็นค่านิยมสากล (universalistic) ภายใต้หลักสัมฤทธิผล (achievement) ไม่ใช่การสืบทอด

             โดยสายโลหิตในการเข้าสู่ตำาแหน่งทางสังคม


                      ความทันสมัยทางการเมืองมีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่ง Huntington  อธิบาย
             ว่าเกี่ยวข้องกับ 2 ปัจจัย (สิทธิพันธ์ พุทธหุน, 2555, หน้า 99-101) ได้แก่ ประการแรก การเคลื่อนไหวทาง

             สังคม (social mobilization) เป็นกระบวนการส่งเสริมให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น มีผลต่อการ
             เกิดความคาดหวัง คนจะละทิ้งความเชื่อ และค่านิยมแบบเก่าไปสู่ค่านิยมใหม่ ต้องการความมั่นในที่อยู่อาศัย

             ที่ดินและทรัพย์สิน การรักษาพยายาบาล การประกันสังคม ความต้องการช่วยเหลือหากเกิดภาวะเศรษฐกิจ
             ตกตำ่า ทั้งด้านค่าเช่า ดอกเบี้ย และราคาสินค้า รวมถึงการศึกษา ความทันสมัยที่มากขึ้นนำาไปสู่การผลักดันให้

             มีการปฏิรูปการเมือง และการบริหาร รัฐจำาเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถของตนเอง ทั้งการเพิ่ม
             จำานวนเจ้าหน้าที่ การตั้งสถาบันหรือองค์กรใหม่เพื่อรองรับข้อเรียกร้องและตอบสนองความต้องการรวมถึง

             ความคาดหวังใหม่ที่เกิดขึ้น ประการที่สอง การพัฒนาเศรษฐกิจ (economy) ทั้งนี้ในระยะแรกความทันสมัย
             จะนำาไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งระดับรายได้ และคุณภาพชีวิต หากแต่ในสังคมกำาลังพัฒนาจะ

             นำาไปสู่ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ เศรษฐกิจจะอยู่ในอำานาจของชนชั้นทางสังคมหรือกลุ่มทุน นำาไปสู่วิกฤต
             ทางการเมืองและสังคมในเวลาต่อมา ซึ่งท้ายที่สุดจะนำาไปสู่ข้อเรียกร้องและการกดดันทางการเมือง ทำาให้เกิด

             ปัญหาความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลหรือการเมือง


                      สำาหรับประเด็นด้านวัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) นั้นในการศึกษานี้นำาเฉพาะ
             แนวคิดของ Almond และ Verba (1965, pp.16-18 ) มาใช้ในการอธิบายเท่านั้น โดยทั้งสองแบ่งวัฒนธรรม
             ทางการเมืองออกเป็น 3 ประเภทหลัก ประกอบด้วย ประเภทแรก วัฒนธรรมทางการเมืองแบบปิดตัวเอง/ดั้งเดิม

             (parochial culture) มีลักษณะเป็นสังคมแบบปิด เช่น สังคมเผ่า สมาชิกของสังคมมิได้มีบทบาททางการเมืองใด ๆ

             อำานาจและบทบาททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง รวมถึงศาสนาอยู่ที่คน ๆ เดียวคือหัวหน้าเผ่า ความรู้
             ความเข้าใจและความผูกพันต่อระบบการเมืองจึงไม่มี ไม่มีกฎเกณฑ์ใด ๆ และไม่มีการเรียกร้องต่อระบบ
             ประเภทที่สอง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า (subject political culture) ลักษณะสังคมมีความรู้
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37