Page 51 - kpiebook63008
P. 51
51
มีการประกาศประราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเลือกตั้ง 23 มกราคม 2562 (พระรากฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ.2562) และตามมาด้วยการประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งของ
สำานักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เรื่องกำาหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วันรับสมัครเลือก
ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และสถานที่ที่พรรคการเมืองจะส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือก
ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชื่อรายชื่อ ในวันที่ 24 มกราคม 2562 ภายหลังการประกาศพระราชกฤษฎีกา
ฉบับดังกล่าว (ราชกิจจานุเบกษา, 2562, หน้า 1 และไทยรัฐออนไลน์, 2561ก) 13
ผลคะแนนในกำรเลือกตั้งปี 2554
หัวข้อนี้ทำาการอธิบายประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย ความเหมือนหรือความแตกต่างจากการเลือก
ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกาญจนบุรีที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่สำาคัญที่เกิดขึ้น
ในการเลือกตั้ง ผลกระทบที่มีความสำาคัญในการพัฒนาประชาธิปไตย และการศึกษาความแตกต่างหลากหลาย
ของผู้สมัครรับเลือกตั้งในมิติด้านเพศ ชาติพันธุ์ ลักษณะทางกายภาพ (พิการ) และการทำางานในพื้นที่ รวมถึง
การแข่งขันทางการเมืองทั้งในส่วนที่สามารถเห็นได้ชัดเจน เช่น การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง กลยุทธ์ วิธีการ
การนำาเสนอนโยบาย ตลอดจนกรณีที่มิได้ปรากฏหรือปิดบังอยู่ เช่น การซื้อเสียง การใช้อิทธิพลของหน่วยงาน
การแทรกแซงด้วยวิธีการต่าง ๆ เป็นต้น
ข้อมูลรายงานผลการเลือกตั้งของคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ในการเลือกตั้งปี 2554 จังหวัด
กาญจนบุรีมี ส.ส. จำานวน 5 คน แบ่งเขตเลือกตั้ง 5 เขต โดยผลการเลือกตั้งมี 2 พรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้ง
คือ พรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ โดยพรรคประชาธิปัตย์ ได้ 3 เขต ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 2
นายฉัตรพันธ์ เดชกิจสุนทร เขตเลือกตั้งที่ 4 นายประชา โพธิพิพิธ และเขตเลือกตั้งที่ 5 นางศรีสมร รัศมีฤกษ์เศรษฐ์
ขณะที่พรรคเพื่อไทย ได้ 2 เขต ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1 พลเอกสมชาย วิษณุวงศ์ และเขตเลือกตั้งที่ 3 นายสุรพงษ์
ปิยะโชติ (ผู้จัดการออนไลน์, 2554)
13 รายงานผลสำารวจ “สวนดุสิตโพล” 25 พฤศจิกายน 2561 ในกลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศ 1,070 คน หัวข้อ
การเลือกตั้งที่กำาลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า พบว่าประเด็นเรื่องที่ประชาชนสับสน อันดับ 1 วันเลือกตั้งที่แน่นอน เพราะ
มีกระแสข่าวจะเลื่อนการเลือกตั้ง ยังไม่ประกาศชัดเจน ทำาให้กังวลว่าจะไม่ได้เลือกตั้ง อันดับ 2 การแบ่งเขตเลือกตั้ง เพราะจะได้
รู้พื้นที่ของตนเอง อยากให้กำาหนดชัดเจนและมีความเข้าใจตรงกัน ไม่อยากให้เกิดปัญหาภายหลัง และอันดับ 3 พรรคการเมือง
กับผู้สมัคร เพราะมีพรรคตั้งใหม่จำานวนมาก บางพรรคตั้งชื่อใหม่ คล้ายกัน มีผู้สมัครย้ายพรรคและมีคนรุ่นใหม่มากขึ้น (คิดเป็นร้อยละ
63.96, 30.08 และ 29.0 ตามลำาดับ) ดูเพิ่มเติมในไทยรัฐออนไลน์, 2561ก https://www.thairath.co.th/content/1429311