Page 57 - kpiebook63007
P. 57
57
6) ชนชั้นกลางไทย “รักชาติ” เป็นอย่างมาก แต่คำาว่าชาติของชนชั้นกลางนั้น เป็นความหมายที่
ค่อนข้างแคบ ต้องมีลักษณะลงรอยเดียวกัน ไม่ว่าในแง่ศาสนา ภาษา ชาติพันธุ์ ความภักดี ซึ่งมันไม่เป็นจริง
ในสังคมไทย
7) ชนชั้นกลางไทยเชื่อในเรื่องเหตุและผล ซึ่งแน่นอนว่าคนรุ่นใหม่ ๆ เชื่อในเหตุและผล แต่ความ
เป็นเหตุเป็นผลนี้มันตั้งอยู่บนกลไกทางวิทยาศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อร้อยปีที่แล้ว ที่มองเหตุผลเป็น
ความสัมพันธ์เชิงวัตถุ หรือเป็นความสัมพันธ์ในเชิงกลไกอยู่ตลอดเวลา ไม่คิดถึงเหตุผลเชิงวัฒนธรรม เหตุผล
เชิงสังคม ไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ
8) เชื่อว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่แก้ปัญหาทั้งปวงได้ เพียงสิ่งเดียวแก้ปัญหาทุกอย่างได้
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550) แบ่งประวัติศาสตร์ออกเป็น 3 ยุคสมัย คือ
1) ยุค “สมัยก่อนรัชกาลที่ 5” (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือเรียกว่ายุคไทยโบราณ
2) ยุค “สมัยรัชกาลที่ 5 ถึง 24 มิถุนา พ.ศ.2475” ซึ่งนิธิเรียกว่าการเมืองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
3) ยุค “หลัง พ.ศ.2475” นิธิ เรียกว่าเป็นการเมืองในระบอบเลือกตั้งและรัฐประหารเหมือนเหรียญ
สองด้านที่เกิดขึ้นและไม่สามารถแยกออกจากกัน
เริ่มต้นจากยุค “สมัยก่อนรัชกาลที่ 5” หรือการเมืองของไทยโบราณก่อน เป็นอีกเรืองหนึ่งที่
นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่า มีคนเข้าใจผิดในสังคมไทยกันมากว่า พระเจ้าแผ่นดินไทยในสมัยโบราณทรงมีพระราช
อำานาจเด็ดขาดในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากรทุกส่วน ในความเป็นจริงไม่ใช่ พระเจ้าแผ่นดินไทยมีพระราช
อำานาจจำากัด พระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่สมัยอยุธยาไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่จะแผ่ขยายพระราชอำานาจไปถึงพลเมือง
ไม่มีกองทหารประจำาการ ไม่มีระบบราชการแบบใหม่ พระราชอำานาจแม้ในทางทฤษฎีจะมี แต่ในทางปฏิบัติ
มีจำากัด อำานาจในบ้านเมืองกระจายอยู่ในหมู่ “ชนชั้นปกครอง” อยู่ในกลุ่มที่กฎหมายโบราณเรียกว่า “มูลนาย”
อำานาจทั้งหลายอยู่กับมูลนาย เจ้าเมือง หรือใครก็ตามที่สามารจัดตัวเองได้ว่าเป็น “ชนชั้นปกครอง”
กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในระบบราชการ ต่างคนต่างอยู่ ไม่ได้เป็นระบบราชการเช่นปัจจุบันที่มีปลัดกระทรวง
และไล่เป็นทบวงต่าง ๆ เป็นอำานาจที่กระจายอยู่ในที่ต่าง ๆ รวมทั้งคนที่อยู่ในหมู่บ้าน คนที่เป็นนายบ้าน
คนที่เป็นผู้นำาของหมู่บ้านด้วย ในแง่ระบบโครงสร้างการปกครองใหญ่อำานาจถูกกระจายไม่ได้รวมศูนย์
นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550) อธิบายว่า “ระบบอุปถัมภ์” ไม่ใช่เป็นเรื่องของคนที่ทำาอะไรไม่ได้ต้องพึ่งพา
เขาร้อยเปอร์เซ็นต์ ต้องรอความช่วยเหลือจากคนที่ใหญ่ที่รวย แต่ว่าแท้จริงแล้ว “ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์”