Page 56 - kpiebook63007
P. 56

56       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








                        นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550) สรุปลักษณะสำาคัญของวัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลางไทย

             ในปัจจุบัน 8 ประเด็น


                      1) ชนชั้นกลางมีลำาดับขั้นทางสังคมอย่างชัดเจน เป็นสังคมที่ “มีหัวมีก้อย” ชนชั้นกลางไทย
             เชื่อในสิทธิเสรีภาพของระบอบประชาธิปไตยแต่เป็นสิทธิเสรีภาพที่ไม่เสมอภาค เพราะชนชั้นกลางเชื่อว่า

             มีคนบางคนเท่านั้นที่จะใช้สิทธิเสรีภาพในเชิงสร้างสรรค์ได้ แต่การนำาสิทธิเสรีภาพให้ไปอยู่ในมือคนบางคน
             มันทำาให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวายขึ้น ชนชั้นกลางไทยเป็นชนชั้นที่มีความหวาดระแวงสิทธิเสรีภาพที่อยู่ในมือ

             คนอื่นเป็นอย่างมาก แต่อยู่ในมือตัวเองไม่เป็นไร

                      2) ชนชั้นกลางไทยยังรับเอาคติ “รักความสงบเรียบร้อย” มาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

             คำาว่าความสงบเรียบร้อยเป็นความต้องการของในทุกสังคม แต่ว่าความสงบเรียบร้อยของเรามีปัญหา

             ก็คือจะสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงได้หรือ คำาว่า Peace and Order ที่มีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
             ซึ่งจริง ๆ รับจากต่างประเทศมาอีกทีที่เป็นคำาขวัญของระบอบอาณานิคมทุกแห่งในโลกนี้ คำาถามก็คือว่าระบบ
             Peace and Order มันรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ไหม ถ้ารับไม่ได้มันก็จะนำาสู่ความรุนแรงในอนาคตแน่นอน


                      3) ชนชั้นกลางเชื่อใน “อาญาสิทธิ์” ซึ่งก็คืออำานาจที่คนในสังคมเห็นว่าชอบธรรมทางกฎหมาย

             อย่างคนเอาปืนจี้คุณ มันมีอำานาจแต่ไม่มีอาญาสิทธ์ แต่ในขณะที่ตำารวจเอาปืนจี้คุณไปโรงพัก เขามีอำานาจ

             มีอาญาสิทธิ์ แต่ชนชั้นกลางไทยนิยามคำาว่าอาญาสิทธิ์ไว้แคบเกินไป จึงไม่สามารถรองรับอำานาจที่มี
             ความหลากหลายได้ จนเกิดเป็นปัญหา และอำานาจที่เป็นอาญาสิทธิ์นั้นมีลักษณะอำานาจนิยมด้วย คือเป็นอำานาจ
             ที่เด็ดขาดฉับพลัน ปัญหาทุกอย่างในโลกแก้ไขได้ด้วยอำานาจ เมื่อมองว่าการใช้อำานาจคือการแก้ปัญหาแต่ไม่มอง

             ถึงวิธีการแก้วิธีอื่นเลย และยังมีอำานาจอื่น ๆ อีกที่จะต้องจัดการมัน มันไม่ได้มีปัญหาเดียว


                      4) โลกทัศน์ชนชั้นกลางไทยมีลักษณะ “นานาชาตินิยม” ใช้มาตรฐานของนานาชาติเป็นมาตรฐานเรา
             หลายต่อหลายเรื่อง ใช้เหรียญทองโอลิมปิกหรืออะไรก็แล้วแต่มาอธิบายอัตลักษณ์ของตัวเอง แต่แปลกมาก

             ที่ยังเชื่อในความโดดเด่นของตัวเองอยู่ด้วย ทั้งสองอย่างมันขัดแย้งกันเอง เรื่องนานาชาติ เรื่องความโดดเด่น
             ของตัวเองเป็นความเชื่อที่ขัดแย้งและมีโจทย์ที่ชนชั้นกลางไทยสามารถชี้ว่า สิ่งนี้คือรับเข้ามาเป็นของเรา อันนี้

             ไม่ได้รับ อันนี้รับแล้วทำาลายวัฒนธรรมของเรา อันนี้เราไม่รับเราจะไม่ทันเพื่อนบ้าน ต่างจากวัฒนธรรมนานาชาติ
             ที่เขาจะเป็นตัวชี้อยู่ตลอดเวลาว่าคุณควรรับหรือไม่รับอะไร


                      5) คนชั้นกลางเชื่อเรื่องความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจ เป็นเป้าหมายสำาคัญในเรื่องของการปกครอง

             แต่ความไพบูลย์ทางเศรษฐกิจของชนชั้นกลางมันแคบ ไม่ได้หมายถึงความมั่นคงในทางสังคมที่มนุษย์ต้องการ
             แต่เป็นเรื่องสะพานลอย เขื่อน ไฟฟ้า เฉพาะในเรื่องทางวัตถุเท่านั้น
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61