Page 53 - kpiebook63007
P. 53
53
ประชาธิปไตย ถ้าสังคมนั้นประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำาการเมืองมีลักษณะที่เป็นเผด็จการอันเนื่อง
มาจากวัฒนธรรมสังคม รวมตลอดทั้งบุคลิกภาพของคนในสังคมนั้น ย่อมยากที่จะพัฒนาระบอบการปกครอง
แบบประชาธิปไตย วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยคือ การมีทัศนคติที่เชื่อในความเสมอภาคของมนุษย์
มีศรัทธาในมนุษย์ว่าสามารถที่จะใช้เหตุใช้ผลในการชี้แจงข้อสงสัยและความขัดแย้งต่าง ๆ เชื่อในสิทธิเสรีภาพ
ขั้นพื้นฐาน อดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็นที่แตกต่าง มีจิตใจที่เป็นนักกีฬา การยอมเสียสละส่วนตนเพื่อผลประโยชน์
ส่วนรวม การเคารพในหลักนิติธรรม โดยมีแนวโน้มที่จะร่างกฎหมายและอ่านกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ต่อ
ส่วนรวม ด้วยการยึดถือหลักการเป็นใหญ่
ทั้งหลายทั้งปวงดังกล่าวเป็นเสมือนฐานรากของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และนั่นคือ
วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยซึ่งมีความจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ผู้นำาทางการเมืองจนพัฒนาเป็นจิตวิญญาณประชาธิปไตย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ
ค่านิยมและปทัสถานที่เป็นประชาธิปไตย
คำาถามคือ ทำาอย่างไรจึงจะมีการพัฒนาวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยขึ้นได้ในสังคม คำาตอบของ
นักรัฐศาสตร์ก็คือจะต้องมีการกล่อมเกลาเรียนรู้ (socialization) ให้มีวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กระบวนการดังกล่าวนี้เรียกว่ากระบวนการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง (political
socialization) ซึ่งจะมีขั้นตอนและกระบวนการทั้งในแง่การสร้างค่านิยมแบบนามธรรมในลักษณะหลักการหรือ
ปรัชญา รวมตลอดทั้งการปฏิบัติที่อยู่ในสังคม เริ่มต้นตั้งแต่ระดับครอบครัว จากนั้นก็โรงเรียน องค์กรศาสนา
องค์กรสังคม และสังคมโดยรวม
ด้าน ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2552 : 170-171) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับลักษณะเด่นของรัฐ และ
สังคมไทย ดังนี้
1) รัฐและสังคมไทย มีความหลากหลายทางโครงสร้างย่อยภายใน ทั้งทางด้านอำานาจทางการเมือง
ลักษณะทางเศรษฐกิจ ลักษณะทางสังคม (เชื้อชาติ เผ่าชน ภาษา วัฒนธรรม) และมีความไม่สมำ่าเสมอกัน
ทางพัฒนาการของโครงสร้างย่อยดังกล่าวนี้
2) ความหลากหลายและความไม่สมำ่าเสมอดังกล่าว ได้ดำารงอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนาน และได้รับ
ผลสะเทือนจากพลังภายนอกสังคมเฉพาะบางจุดจนกระทั่งเกิดการผสมผสานระหว่างมิติ 3 ด้าน คือ ความมั่นคง
การพัฒนา และประชาธิปไตย ความหลากหลายและความไม่สมำ่าเสมอในโครงสร้างย่อยของรัฐ และสังคมไทย
จึงลดตำ่าลง แต่มิได้หมดไปเสียเลยทีเดียว
3) ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม เป็นไปในลักษณะของ “รัฐเหนือสังคม” มากกว่า “สังคม
เหนือรัฐ” กล่าวคือ โดยทั่วไปและในพัฒนาการทางประวัติศาสตร์สังคมแล้ว รัฐและกลไกของรัฐทั้งทางด้าน
กลไกการใช้กำาลังบังคับ และกลไกทางอุดมการณ์ ได้เป็นฝ่ายครอบงำาและกำาหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลง
ทางสังคมมากกว่าที่พลังทางสังคมจะเป็นฝ่ายครอบงำาและกำาหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น รัฐจึงมี