Page 49 - kpiebook63007
P. 49
49
ประชาธิปไตยก็กลับมาอีกครั้งจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ในแง่โครงสร้าง ลิขิตมองว่า ระบบการปกครองแบบปัจจุบัน
คือระบบการปกครองแบบประชาธิปไตย ถึงแม้จะมีความไม่สมบูรณ์และบกพร่องอยู่บ้าง
โดย ลิขิต ธีรเวคิน สรุปว่า ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยมีจุดอ่อนที่บกพร่อง
อยู่ 3 จุด คือ
1) พรรคการเมืองไม่บริหารแบบประชาธิปไตย เป็นเพียงการจัดตั้งที่จดทะเบียนตามกฎหมายเท่านั้น
2) การเลือกตั้งมิได้เป็นไปอย่างบริสุทธิ์และเที่ยงธรรม แต่มีการซื้อเสียง จึงกลายเป็นเพียงการประกอบ
พิธีกรรมการหย่อนบัตร
3) ผู้มีอำานาจเงินยังเป็นผู้กุมอำานาจรัฐโดยใช้กระบวนการทางการเมืองและสังคมที่อ่อนแอเป็นประโยชน์
ในขณะที่ เอนก เหล่าธรรมทัศน์ (2550 : 29) เจ้าของทฤษฎี “สองนคราประชาธิปไตย” อันโด่งดัง
ที่สรุปว่า คนชนบทเป็นผู้เลือกรัฐบาล ส่วนคนชั้นกลางในเมืองเป็นผู้ล้มรัฐบาล กลับมองลึกซึ้งกว่าข้อสรุปของ
ลิขิต ธีรเวคิน โดยเอนก เหล่าธรรมทัศน์ได้วิเคราะห์ว่า ถ้าพิจารณาให้ถ่องแท้ จะเห็นว่าการลงคะแนนเสียงของ
ชาวชนบท ซึ่งเรียกคลุม ๆ ว่า “การซื้อขายเสียง” นั้นไม่ได้เป็นเรื่องความเห็นแก่ตัว ไม่รับผิดชอบต่อส่วนรวม
อย่างที่ชนชั้นกลางหรือคนในเมืองเข้าใจ หากมีเรื่องของการประเมินผลงานในอดีตของผู้สมัครและผลประโยชน์
ที่คาดว่าผู้สมัครจะนำามาให้แก่ชุมชนเช่นกัน อเนกสรุปว่า แม้เงินจะเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ แต่เงินก็ไม่ได้เป็น
ปัจจัยที่เพียงพอที่จะดลบันดาลให้ใครคนใดคนหนึ่งได้รับการเลือกตั้งเสมอไป มีคนรวยจำานวนมากแจกจ่ายเงิน
มหาศาลแต่ก็ไม่ได้รับชัยชนะ ทั้งนี้ก็เพราะในทุกวันนี้ผู้ลงคะแนนเสียงมักจะมีทางเลือกระหว่างผู้สมัครที่รำ่ารวยด้วย
และมีผลงานด้วย ทั้งยังให้ความช่วยเหลือพวกเขาอย่างจริงจังมานาน กับผู้สมัครที่หว่านเงินเฉพาะช่วงเลือกตั้ง
แล้วไม่เคยกลับไปหาชาวบ้านอีกเลย
อเนก เห็นว่า การใช้จ่ายเงินทองของผู้สมัครระหว่างหาเสียงนั้นมีมากมายจริง แต่ที่มากยิ่งกว่านั้นคือ
การจ่ายเงินทองของนักการเมืองเพื่อหล่อเลี้ยงระบบอุปถัมภ์ซึ่งคอยช่วยเหลือเกื้อกูลชาวบ้านและท้องถิ่นในช่วง
ก่อนและหลังการเลือกตั้ง เพราะสิ่งนี้ชี้ขาดว่าใครจะกำาชัยชนะในการแข่งขันทางการเมืองได้มากกว่าสิ่งอื่นใด
สรุปได้ว่า ชาวบ้านส่วนใหญ่คำานึงถึงผลประโยชน์ระยะยาวมากกว่าการรับอามิสสินจ้างในช่วงหาเสียง แต่ไม่ได้
หมายความว่าเขาจะไม่รับเงิน
ส่วนผู้วิจัยเห็นว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา นอกจากปัจจัยเรื่อง “เงิน” แล้ว ปัจจัยเรื่อง
พรรคที่สังกัดก็ส่งผลให้ผู้สมัครคนใดคนหนึ่ง “ชนะ” หรือ “แพ้” การเลือกตั้งได้เช่นกัน โดยเฉพาะในพื้นที่ของ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน (ที่นิยม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) ภาคใต้และกรุงเทพมหานคร
(ที่นิยมพรรคประชาธิปัตย์)
ในกรณีของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีตัวอย่างงานศึกษาของ ประเทือง ม่วงอ่อน (2556 : 301-
305) ที่ศึกษานักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ สรุปว่า นับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา ประชาชนจังหวัด