Page 45 - kpiebook63007
P. 45
45
4) ระบบเลือกตั้งแบบผสม (Mixed Electoral System) หมายถึง ระบบการเลือกตั้งที่ใช้ระบบ
เลือกตั้งสองระบบพร้อมกันในการเลือกตั้งครั้งเดียวกัน ระบบเลือกตั้งแบบผสมสามารถใช้ระบบเลือกตั้ง
แบบสัดส่วนพร้อมกับระบบเสียงข้างมากธรรมดา หรือแบบสัดส่วนพร้อมกับระบบเสียงข้างมากเด็ดขาดก็ได้
ระบบเลือกตั้งแบบผสมที่นิยม คือ แบบคู่ขนานระหว่างแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน ในระบบนี้การจัดสรร
ที่นั่งของผู้สมัครในระบบเขตเลือกตั้ง และระบบสัดส่วนจากบัญชีรายชื่อของพรรค จะเป็นอิสระจากกัน
โดยไม่นำาคะแนนจากระบบเลือกตั้งสองระบบมาคิดรวมกัน ระบบนี้พบได้ในประเทศญี่ปุ่นและไทยตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ 2540 หรือฉบับ 2550
ในกรณีประเทศไทย พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
และการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2550 กำาหนดให้
1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้ง
ดังต่อไปนี้ (มาตรา 6)
1.1) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่าจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มีได้ในเขตเลือกตั้งนั้น
1.2) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน ซึ่งเป็นการลงคะแนนเลือกพรรคการเมือง
ที่จัดทำาบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งในแต่ละเขตเลือกตั้ง โดยเลือกพรรคการเมืองใด
พรรคการเมืองหนึ่งเพียงพรรคการเมืองเดียว
2) การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้งและให้มีสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละ
หนึ่งคน โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้หนึ่งเสียงและให้ใช้วิธีออกเสียง
ลงคะแนนโดยตรงและลับ (มาตรา 120)
กล่าวโดยสรุป ในการเลือกตั้งการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562
เป็นระบบการเลือกตั้งเป็นแบบจัดสรรปันส่วนผสม หรือระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
500 คนมาจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด 350 เขต เขตละคน และอีก 150 คนมาจากที่นั่งปรับระดับ
(leveling seat) ผู้ที่มิใช่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถได้รับ
3.1.2 ปัญหำกำรเลือกตั้งในประเทศไทย
ปัญหาการเลือกตั้งในประเทศไทยสะท้อนออกมาผ่านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติว่าด้วย
พรรคการเมือง เป็นต้น