Page 43 - kpiebook63007
P. 43
43
ไม่ปฏิบัติตามเจตจำานงของประชาชนผู้เลือกแล้ว ประชาชนย่อมสามารถแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่งตาม
กระบวนการที่กฎหมายได้กำาหนดเอาไว้ อาทิ การยื่นถอดถอนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
2. ความส�าคัญของการเลือกตั้ง
หากกล่าวถึงความสำาคัญของการเลือกตั้งพบว่ามี 4 ประเด็นที่สำาคัญดังต่อไปนี้
1. การเลือกตั้งเป็นกลไกการใช้อำานาจอธิปไตยหรือการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political
Participation) ของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย โดยการไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้แทนที่มีนโยบายตรงกับ
ความต้องการของตนเองให้ไปใช้อำานาจอธิปไตยแทนตนด้วยความชอบธรรม เพื่อลดภาวะความตึงเครียด
ขจัดความขัดแย้ง หรือการสืบต่ออำานาจและเป็นกลไกที่จะควบคุมให้ผู้แทนที่ดำารงตำาแหน่งจากการเลือกตั้ง
ตระหนักอยู่เสมอว่าต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้กำาหนดอนาคตทางการเมืองของ
ตนด้วยการเลือกหรือไม่เลือกกลับมาทำาหน้าที่ผู้แทนอีก ดังนั้น การเลือกตั้งจึงมีผลต่อการพัฒนาทางการเมือง
โดยประชาชนจะสำานึกถึงความจำาเป็นในการปฏิบัติหน้าที่พลเมืองซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการเลือกผู้แทนเลือกรัฐบาล
เลือกรูปแบบและวิธีดำาเนินการปกครอง เลือกนโยบายสาธารณะ เลือกระบบเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้
จะเอื้อต่อการธำารงไว้และบูรณาการทางการเมืองที่พึงปรารถนา และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง
ในระบอบประชาธิปไตยมากขึ้น (วัชรา ไชยสาร,2544 : 11)
2. การเลือกตั้งจะยืนยันหลักการสำาคัญของการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยว่าประชาชน
เป็นเจ้าของอำานาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำานาจนี้เลือกและเปลี่ยนแปลงรัฐบาลได้ด้วยตัวของประชาชน
เอง มิใช่ให้อำานาจในการแต่งตั้งหรือเลือกรัฐบาลอยู่ในมือของกลุ่มอภิสิทธิ์ชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะหากปฏิบัติ
เช่นนั้นถือได้ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
3. การเลือกตั้งสามารถแปลงคะแนนเสียงที่ได้จากประชาชนทั่วไปให้กลายเป็นที่นั่งในรัฐสภา
การเลือกระบบการเลือกตั้งสามารถกำาหนดได้ว่า ใครจะเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง และพรรคการเมืองใด
จะได้รับชัยชนะ
4. ระบบเลือกตั้งมักจะมีส่วนของการจัดการความขัดแย้ง โดยระบบการเลือกตั้งสามารถซำ้าเติมหรือ
บรรเทาความตึงเครียดและความขัดแย้งในสังคมได้ในระดับหนึ่ง โดยการเลือกตั้งอาจจะซำ้าเติมความตึงเครียดถ้า
หากมีบางกลุ่มมองว่าระบบเลือกตั้งขาดความเที่ยงธรรมและกรอบการเมืองไม่เอื้อให้ฝ่ายค้านรู้สึกว่าพรรคตนมี
โอกาสชนะการเลือกตั้ง ผู้แพ้อาจรู้สึกว่าถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติการนอกระบบ โดยใช้วิธีที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ใช้
การเผชิญหน้า และแม้แต่การใช้ยุทธวิธีที่รุนแรงในที่สุด (แอนดรูว์ เรย์โนลด์สุ, เบน ไรลี และ แอนดรูว์ เอลลิส,
2555 : 6-7)