Page 48 - kpiebook63007
P. 48
48 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
(7) การแจ้งหรือให้ถ้อยคำาอันเป็นเท็จต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้เข้าใจผิดว่าผู้สมัครใด
กระทำาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นต้น
2) กรรมการและเจ้าพนักงานผู้ดำาเนินการเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(1) จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่
(2) การใช้ตำาแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายให้คุณให้โทษแก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
(3) จงใจนับคะแนนผิดหรือรวมคะแนนผิด
(4) จงใจอ่านบัตรเลือกตั้งให้ผิดจากความจริง
(5) การจงใจกระทำาการเพื่อให้บัตรเสียเป็นบัตรที่ใช้ได้
(6) การจงใจกระทำาการเพื่อให้บัตรเลือกตั้งชำารุด เสียหาย หรือให้กลายเป็นบัตรเสีย
3) ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
(1) การใช้บัตรอื่นที่มิใช่บัตรเลือกตั้งลงคะแนนเลือกตั้ง
(2) การนำาบัตรเลือกตั้งออกจากที่เลือกตั้ง
(3) การจงใจกระทำาให้บัตรเลือกตั้งชำารุด หรือเสียหายหรือให้เป็นบัตรเสีย
(4) การขายเสียง
4) ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
(1) การซื้อเสียง
(2) การจัดยานพาหนะรับส่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อจูงใจหรือควบคุมให้ผู้มีสิทธิ
เลือกตั้งลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครหรือพรรคการเมือง
(3) การหาเสียงเลือกตั้งนับตั้งแต่เวลา 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันจนวันสิ้นสุด
วันเลือกตั้ง
(4) การหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา (กฎหมายกำาหนดให้ผู้สมัคร
รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสามารถหาเสียงเลือกตั้งได้เฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
ในหน้าที่ของวุฒิสภาเท่านั้น)
(5) การกระทำาการอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้สมัครถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือเพื่อไม่ให้มี
การประกาศผลการเลือกตั้ง อันเป็นเหตุให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
นอกจากนี้ ลิขิต ธีรเวคิน (2553 : 444) สรุปว่า ภายหลังการปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ที่มีรัฐบาล
สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีมีลักษณะเป็นอำามาตยาธิปไตย แม้จะไม่มีพฤติกรรมเป็นเผด็จการทหาร
แต่ที่มาก็ยังเป็นแบบอำามาตยาธิปไตย และหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ระบอบการปกครองแบบ