Page 44 - kpiebook63007
P. 44
44 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
กล่าวโดยสรุปสามารถวิเคราะห์ได้ว่า การเลือกตั้งล้วนแต่มีความสำาคัญในแง่ของการสนับสนุนกลไก
การมีส่วนร่วมทางการเมือง การลดความขัดแย้ง และการสนับสนุนหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วย
3. ประเภทของการเลือกตั้ง
ระบบการเลือกตั้งโดยทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ คือ (สิริพรรณ นกสวน, 2551 : 103-113)
1) ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดา (Plurality System) หรือ “First Past the Post”
(FPTP) กล่าวคือ ใครได้คะแนนมากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เป็นระบบที่ง่ายที่สุด ระบบการเลือกตั้ง
แบบเสียงข้างมากธรรมดาที่พบเห็นเป็นส่วนใหญ่ใช้ควบคู่กับเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทนได้หนึ่งคน (Single-
Member District/Consitituency) หรือ แบบ 1 เขต 1 คน (ของประเทศไทยเรียกว่า แบบเขตเดียวเบอร์เดียว
หรือแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ได้ ส.ส. เขตละ 1 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ได้คะแนนเลือกตั้งสูงสุดในแต่ละเขต)
มีบางกรณีที่ระบบเสียงข้างมากธรรมดาใช้คู่กับเขตเลือกตั้งที่มีตัวแทนได้หลายคน (1 เขต แต่มี ส.ส.ได้
2-3 คน) เช่น ระบบเลือกตั้งของไทยก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเป็นระบบที่แตกต่างจากประเทศ
ส่วนใหญ่ทั่วโลก เป็นระบบการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากธรรมดาโดยในแต่ละเขตเลือกตั้งจะมีตัวแทนได้ 1-3 คน
ขึ้นอยู่กับจำานวนประชากรในเขตเลือกตั้งนั้น ผู้ใช้สิทธิหนึ่งคนมีสิทธิออกเสียงได้ตามจำานวนตัวแทนที่เขตจะได้
2) ระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเด็ดขาด (Majority Rule) ใช้ในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
แต่ละเขตมีตัวแทนได้ 1 คน ผู้ชนะจะต้องได้รับเลือกด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด (absolute majority) กล่าวคือ
เกิน 50% ขึ้นไป เช่น มีผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 100,000 คน ผู้ชนะจะต้องได้คะแนนเสียงเกิน 50,000 คะแนน
ที่เป็นเช่นนี้เพื่อให้ผู้ชนะการเลือกตั้งได้คะแนนเสียงสนับสนุนมากพอที่จะมีความชอบธรรมในการทำาหน้าที่
แต่ปัญหาคือ ถ้าไม่มีผู้สมัครคนใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดจะแก้ปัญหาอย่างไร?
วิธีในการแก้ปัญหามีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยม คือ การจัดเลือกตั้งรอบที่ 2 ที่เรียกว่า Run-off หรือ
Two-Round System โดยเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ที่ได้คะแนนเสียงมากที่สุด 2 คน ในรอบแรก โดยตัดผู้สมัคร
คนอื่นออกไปทั้งหมด ระบบเลือกตั้งรอบสองเพื่อให้ได้เสียงข้างมากเด็ดขาดจากผู้สมัครที่เหลือเพียง 2 คน วิธีนี้
นิยมใช้สำาหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง เช่น ออสเตรเลีย บราซิล ชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ ฝรั่งเศส
โปแลนด์ โปรตุเกส รัสเซีย ยูเครน เป็นต้น
3) ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน (Proportional Representation) (ประเทศไทย เรียกว่า แบบบัญชี
รายชื่อ) จะใช้กับเขตใหญ่ที่มีตัวแทนได้หลายคน เช่น ของประเทศไทยแบบบัญชีรายชื่อใช้พื้นที่ทั้งประเทศเป็น
เขตเลือกตั้ง สามารถมีตัวแทนได้หลายคน ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า ระบบบัญชีรายชื่อ
การนำาระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนมาใช้สัมพันธ์กับปัจจัย 5 ประการ คือ ขนาดเขตเลือกตั้ง ลำาดับชั้นของเขต
เลือกตั้ง สูตรการคำานวณ เกณฑ์ขั้นตำ่า และการจัดลำาดับผู้สมัครเลือกตั้ง