Page 42 - kpiebook63007
P. 42

42       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์







             3.1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบกำรเลือกตั้งประเทศไทย



                      การเลือกตั้ง (election) เป็นกลไกที่สำาคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประเทศใดที่ขาด
             การเลือกตั้งจะเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยมิได้ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลือกตั้งจะเป็นเงื่อนไขจำาเป็น (Necessary

             Conditions) สำาหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ใช่เงื่อนไขที่เพียงพอ (Sufficient Conditions)

             ที่จะตัดสินว่าประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตย ซึ่งต้องดูปัจจัยและเงื่อนไขที่จำาเป็นอื่น ๆ ประกอบด้วย
             อาทิ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การตรวจสอบทางการเมือง ความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้ง
             เป็นต้น เพื่อเป็นพื้นฐานสำาหรับการศึกษาการเลือกตั้งในประเทศไทยเบื้องต้น ผู้วิจัยจะนำาเสนอออกเป็น

             3 ประเด็น คือ หลักการพื้นฐานของการเลือกตั้ง ปัญหาการเลือกตั้งในประเทศไทย และวัฒนธรรมและพฤติกรรม

             ทางการเมืองไทย โดยมีรายละเอียดตามลำาดับ ดังนี้

                     3.1.1 หลักกำรพื้นฐำนของกำรเลือกตั้ง



                      การนำาเสนอหลักการพื้นฐานของการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ความหมายของการเลือกตั้ง ความสำาคัญ
             ของการเลือกตั้ง และประเภทหรือรูปแบบของการเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียดตามลำาดับดังนี้


                      1. ความหมายของการเลือกตั้ง


                      ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยขอยกตัวอย่างนิยามของการเลือกตั้งจาก พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และ หยุด แสงอุทัย
             ดังนี้


                      พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว ได้ให้ความหมายคำาว่า “การเลือกตั้ง” ว่า “เป็นกิจกรรมที่สำาคัญยิ่งในกระบวนการ

             ทางการเมืองและการปกครอง เพราะการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำานงของประชาชนในการปกครอง
             ประเทศ เจตจำานงดังกล่าวปรากฏอยู่ในลักษณะของการเรียกร้อง (demand) หรือสนับสนุน (support) ต่อการ

             ตัดสินใจทั้งหลายในระบบการเมือง” (พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, 2534 : 201 อ้างถึงใน สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย
             สุโขทัยธรรมาธิราช,2547 : 243) เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับหยุด แสงอุทัย ที่ได้ให้ความหมายคำาว่า “การเลือกตั้ง”

             ว่า “การเลือกตั้งหมายความถึงกรณีที่บุคคลได้เลือกบุคคลหนึ่งจากบุคคลหลาย ๆ คน หรือบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
             รับเลือกตั้งบัญชีหนึ่ง จากบัญชีรายชื่อหลายบัญชีเพื่อให้ไปกระทำาการอันใดอันหนึ่ง เช่น การเลือกตั้งสมาชิก

             สภาผู้แทนราษฎร เราก็เลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งเพื่อไปออกกฎหมายหรือปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นในสภาผู้แทน
             ราษฎร” (หยุด แสงอุทัย,2513 : 344 อ้างถึงใน สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2547 : 243)


                      สรุปว่า การเลือกตั้ง หมายถึง การแสดงเจตนารมณ์ การแสดงสิทธิหรือเจตจำานงในการเลือกตัวแทน

             เข้าไปปฏิบัติหน้าที่หรือเพื่อจุดประสงค์ เป้าหมาย อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้กำาหนดไว้ในวาระหนึ่ง ๆ ไม่ว่า
             จะเป็นการเมืองระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นแทนประชาชนผู้เลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน

             ทั้งนี้ ตัวแทนที่ประชาชนเลือกเข้าไปต้องรับผิดชอบต่อประชาชนที่เลือกตนเข้าไป หากผู้แทนหรือพรรคการเมืองใด
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47