Page 52 - kpiebook63007
P. 52
52 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
รัฐธรรมนูญฉบับลายลักษณ์อักษรบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบัน ไม่ใช่บุคคล
หมายความว่าเมื่อเปลี่ยนรัชกาลก็ไม่จำาเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงหมวดนี้ในรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม สถาบัน
พระมหากษัตริย์ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญนั้นเป็นสถาบันที่มีบทบาทและหน้าที่ของรัฐสมัยใหม่ เช่น ทรงเป็น
พระประมุข ทรงใช้อำานาจอธิปไตยโดยผ่านอำานาจทั้งสาม ฯลฯ แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม แนวคิดเรื่อง
“สถาบัน” พระมหากษัตริย์แตกต่างไปจากนั้น นิธิสรุปว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้น “ศักดิ์สิทธิ์” โดย
รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมมองว่า พระมหากษัตริย์เป็นที่เคารพสักการะ มีอำานาจลี้ลับ (ศักดิ์) และมีฤทธิ์ (สิทธิ์)
สถาบันพระพุทธศาสนา
ไม่ว่าจะเขียนหรือไม่เขียนไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐไทยก็เป็นรัฐพระพุทธศาสนา หมายความว่า
เราจัดให้พระพุทธศาสนามีสถานะพิเศษกว่าศาสนาอื่น ๆ แม้รัฐไทยจะเป็นกลางระหว่างศาสนาศริสต์ อิสลาม
หรือฮินดู แต่รัฐไทยเจตนาและแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าจะลำาเอียงเข้าข้างพระพุทธศาสนา ถึงจะเขียน
หรือไม่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำาชาติ พุทธศาสนาก็เป็นศาสนาประจำาชาติไทยอย่าง
ปฏิเสธไม่ได้ และตราไว้อย่างเปิดเผยชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมอยู่แล้ว
2) กองทัพ
กองทัพจะมี “อิทธิพล” (คือ อำานาจที่ไม่มีกฎหมายหรือประเพณีรองรับ) แต่ทั้งนี้ กองทัพก็มี “อำานาจ”
เช่นกัน แต่เป็นเพียง “อำานาจ” ที่น้อยนิดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองใด ยกเว้นเผด็จการทหาร
กล่าวคือ ทหารจะปฏิบัติการอะไรต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร หรือนายกรัฐมนตรี
วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นต้นมา กองทัพเป็นแกนหลักในการโค่นล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จากนั้นเป็นต้นมา กองทัพกลายเป็น “อิทธิพล” ที่ใหญ่สุดในการเมืองไทย แม้ว่าหลักการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยแล้ว กองทัพจะมี “อำานาจ” อยู่เพียงนิดเดียว
คนไทยส่วนใหญ่ให้การต้อนรับ “อิทธิพล” ของกองทัพด้วยดีและใช้ประโยชน์จาก “อิทธิพล” นี้
อย่างเต็มที่เท่าที่จะใช้ได้ นับตั้งแต่ระดับบุคคลที่วิ่งเต้นเข้าหาทหารเพื่อเอา “อิทธิพล” นั้นไปบีบบังคับให้
“อำานาจ”ของข้าราชการพลเรือนซึ่งมักจะฉ้อฉลยอมตาม หรือฉ้อฉลไปในทางที่เป็นประโยชน์ส่วนตัวไปจนถึง
ระดับที่เป็นกลุ่ม
นิธิสรุปว่า รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมของไทยชอบให้ทหารมี “อิทธิพล” แต่ไม่ชอบให้มี “อ�านาจ”
เป็นต้น
ส่วน ลิขิต ธีรเวคิน (2551) วิเคราะห์สอดคล้องกับแนวคิดของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ว่า ระบอบการ
ปกครองแบบประชาธิปไตย ไม่สามารถจะพัฒนาได้ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดโครงสร้างและกระบวนการ
ทางการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว ที่สำาคัญจำาเป็นจะต้องมีพื้นฐานที่มั่นคง นั่นคือ การมีวัฒนธรรมการเมืองแบบ