Page 55 - kpiebook63007
P. 55

55








                          6)  การยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม


                            คนไทยส่วนมากยังยึดมั่นในความเชื่อ ค่านิยม ทัศนคติแบบเก่า ๆ อยู่ กล่าวคือ ยังเชื่อในเรื่อง

                  ภูตผีปีศาจ ไสยศาสตร์ของขลัง และโชคลางอยู่ โดยยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่งทางใจ โดยเฉพาะเมื่อประสบกับ
                  ปัญหาหรือความเดือดร้อน จึงเป็นการยากที่คนไทยทั่วไปจะยึดหลักเหตุผล รู้จักวิเคราะห์วิจารณ์ ไม่เรียกร้อง

                  บริการจากรัฐโดยตรง แต่ใช้วิธีร้องเรียนขอความกรุณา แต่จะมีลักษณะอนุรักษ์นิยม ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง
                  เพราะจะทำาให้เกิดความไม่มั่นคง


                          7) ความเฉื่อยชา


                            คนไทยโดยทั่วไปจะพอใจในสภาพที่เป็นอยู่ของตนเอง จะยอมรับสภาพที่เสียเปรียบของตนเอง
                  โดยถือว่าตัวเองทำาบุญมาเพียงแค่นี้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะเชื่อในกรรมเก่า จึงไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ถือว่า

                  การเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นสูงหรือชนชั้นนำา


                          8) ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง


                            คนไทยจำานวนมากขาดความเชื่อมั่นในตนเองในการแก้ปัญหาหรือการเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรือ
                  ได้รับการปฏิบัติด้วยความไม่เป็นธรรม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจะแสวงหาที่พึ่ง ไม่คิดว่าตนเองมีความสามารถ

                  แก้ไขได้ โดยหันไปพึ่งอำานาจศักดิ์สิทธิ์


                          9) การรักษาความสงบและการประนีประนอม


                            คนไทยส่วนใหญ่รักสงบ ไม่นิยมความรุนแรงและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง มีความอดทนต่อการ
                  ถูกเอารัดเอาเปรียบ ถ่อมตัว เกรงใจผู้อื่น ทำาให้คนไทยไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์หรือคัดค้านผู้อื่น หรือผู้มีอำานาจ




                          โดยสรุปแล้ว วัฒนธรรมและพฤติกรรมทางการเมืองไทย ที่สำาคัญได้แก่ ลักษณะอำานาจนิยม

                  นิยมระบบเจ้านายกับลูกน้อง ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ การจัดลำาดับฐานะในความสัมพันธ์ระหว่าง

                  บุคคล ความเป็นอิสระนิยม การยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิม ความเฉื่อยชา ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง การรักษา
                  ความสงบและการประนีประนอม เป็นต้น


                          ส่วน นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2550) วิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจว่า “เมื่อพูดถึงวัฒนธรรมทางการเมือง
                  ของไทยในวันนี้ จุดที่น่าสนใจที่สุดไม่ใช่วัฒนธรรมการเมืองของชาวบ้าน แต่มันเป็นวัฒนธรรมการเมืองของ

                  ชนชั้นกลาง เพราะชนชั้นกลางคุมสื่อ คุมการศึกษา คุมทุกอย่าง เป็นผู้ที่ผลักวัฒนธรรมไปให้กลุ่มอื่น ๆ รับ

                  ต่อไป ดังนั้น พลังอ�านาจของชนชั้นกลางจึงเป็นสิ่งส�าคัญ คนที่จะเข้าใจวัฒนธรรมทางการเมืองไทยได้ต้องเข้าใจ
                  วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลาง ซึ่งไม่ใช่วัฒนธรรมการเมืองของคนไทยทั้งประเทศ แต่คาดการณ์ได้ว่า
                  ในอนาคตจะเป็นของคนไทยทั้งประเทศ”
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60