Page 60 - kpiebook63007
P. 60
60 การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์
ของบุคคล ที่สามารถสังเกตได้โดยตรง เช่น การจูบ การร้องไห้ การขับรถไปเรียน ขณะที่กระบวนการทางจิต
หมายถึง ความคิด ความรู้สึก และแรงจูงใจที่บุคคลรับรู้แต่เพียงผู้เดียว โดยไม่สามารถสังเกตได้ โดยตรง เช่น
ความคิดที่มีต่อการกระทำา,ความรู้สึกต่อสถานการณ์ และความทรงจำา และ เนวิด (Nevid, 2013: 4) ได้อธิบายว่า
พฤติกรรม คือ การกระทำาของบุคคลซึ่ง จะครอบคลุมเฉพาะสิ่งที่แสดงออก เช่น การพูด การนั่ง การยิ้ม หรือ
การเคลื่อนไหว เป็นต้น หากแต่ กระบวนการทางจิตเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นส่วนบุคคลซึ่งผู้อื่นไม่สามารถ
สังเกตได้โดยตรง เช่น ความคิด อารมณ์ความรู้สึก การรับรู้ การรับสัมผัส หรือแม้กระทั่งความฝัน เป็นต้น
ความหมายของคำาว่าพฤติกรรมการเลือกตั้ง มีหลากหลายมิติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้ความหมาย
ในการนำาไปใช้ โดยความหมายในภาพกว้าง อาทิเช่น ธนัญญา ธีระอกนิษฐ์ (2555) กล่าวว่า พฤติกรรม หมายถึง
อาการที่แสดงออกของมนุษย์ ปฏิกิริยาโต้ตอบต่อสิ่งเร้าที่อยู่รอบตัว โดยจากการสังเกตหรือการใช้เครื่องมือ
ช่วยวัดพฤติกรรมซึ่งส่งผลต่อกระบวนการทางร่างกาย ดังนั้นพฤติกรรมการเลือกตั้ง เป็นการแสดงออกทาง
สิทธิเสรีภาพทางความคิดของประชาชนที่ต้องการตัวแทนของตนเองให้มีนโยบายในการบริหารในรูปแบบใด
ต้องให้มีการพัฒนาไปในทิศทางใด โดยมีความหมายไปในทิศทางเดียวกับ ประภัสสร ปานเพชร (2555) ที่กล่าวว่า
พฤติกรรมการเลือกตั้งเป็นการลงคะแนน ใช้สิทธิ์เลือกตั้งเพราะเป็นหน้าที่ของประชาชน บุคคลที่มีส่วนในการชี้นำา
ในการลงคะแนนเลือกตั้งคือเชื่อตนเอง และเหตุผลในการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้งคือเลือกพรรคหรือเลือกที่
ตัวบุคคล เหตุผลในการตัดสินใจการลงคะแนนเลือกตั้งโดยคำานึงถึงตัวบุคคลเป็นสำาคัญคือมีความรู้ความสามารถ
ที่ชัดเจนเพราะเหตุผล ในการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้ง พรรคการเมืองที่สำาคัญคือชอบหัวหน้าพรรคส่วนใหญ่
ลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่มีพฤติกรรมการซื้อเสียงเหตุผลในการเลือกลงคะแนน เลือกผู้สมัครที่มีพฤติกรรมซื้อเสียง
คือรู้จักเป็นการส่วนตัวและพฤติกรรมในการไปลงคะแนนเสียงแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคือแจกเงิน/สิ่งของ และ
ผู้มีอิทธิพลในชุมชนมีบทบาทต่อการออกเสียงเลือกตั้ง เมื่อได้รับเงินหรือสิ่งของเพื่อเป็นการเปลี่ยนความคิดถึง
การตัดสินใจของคะแนนแก่ผู้สมัครโดยเงินได้รับความช่วยเหลือจากหัวคะแนนของผู้สมัคร
จากการทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปความหมายของคำาว่า พฤติกรรมการเลือกตั้ง
ของงานวิจัยนี้ได้ว่า การเลือกตั้งเป็นกิจกรรมทางการเมืองหลักอย่างหนึ่งของการเมืองในสมัยใหม่ระหว่างประชาชน
กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย พฤติกรรมการเลือกตั้งเป็นการแสดงออกทางการเมือง ซึ่งจะมีผล
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น การเลือกตั้ง ได้แก่ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมในการรณรงค์
หาเสียง การเข้ารับสมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น หรือแม้แต่การเข้าร่วมประชาพิจารณ์ การเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมือง
จากการทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปความหมายของคำาว่า รูปแบบ/ลักษณะของพฤติกรรม
การเลือกตั้งของงานวิจัยนี้ได้ว่า พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนจะขึ้นอยู่บนพื้นฐานกระบวนการเรียนรู้
ทางสังคม ทั้งจากครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำางาน ชุมชน และภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม
พฤติกรรมการเลือกตั้ง หมายถึง พฤติกรรมทางการเมือง อันเป็นรูปแบบของการมีส่วนร่วมทาง
การเมืองอย่างหนึ่ง การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระบบการเมืองต่าง ๆ นั้น แง่มุมหนึ่ง
นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และนำาไปเสนอต่อ
สาธารณะ เพื่อให้นักการเมือง ประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียทราบทั่วกัน