Page 63 - kpiebook63007
P. 63
63
งานวิจัยที่มีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งในประเทศไทยต่างมีข้อจำากัดในการอธิบาย
เกี่ยวกับปัจจัยด้านภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อพฤติธรรมกรรมการเลือกตั้งของประชาชนชาวไทย
โดยภาพรวม เนื่องจากเป็นการเลือกศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างในบางพื้นที่ ผลงานวิจัยที่ครอบคลุมและนับได้ว่า
เป็นผู้นำายุคใหม่ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ปรากฏในงานของสถาบันพระปกเกล้า เริ่มจากการทำาวิจัยเรื่อง “พฤติกรรม
การเลือกตั้งและปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2543” (ถวิลวดี บุรีกุลและสติธร ธนานิธิโชติ,
2545) พบว่า สถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกัน อันได้แก่ เพศ อายุ รายได้ อาชีพ การศึกษา ศาสนา
สถานที่อยู่ ระยะเวลาที่อาศัย และการย้ายที่อยู่ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรต่าง ๆ ที่มีความสำาคัญต่อการพัฒนา
ประชาธิปไตย เช่น การเป็นสมาชิกกลุ่ม ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมทางการเมือง รวมทั้งปัจจัย
ที่ใช้ในการเลือกผู้สมัครอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ ซึ่งผลจากการวิจัยนี้ได้มีการนำาไปขยายผลโดยทำาการศึกษา
แบบเจาะลึกเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น ในเรื่องกระบวนการมุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยของประเทศ
(สติธร ธนานิธิโชติ, 2550)
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปได้ว่า การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งในบริบทพื้นที่ประเทศไทย
เป็นการศึกษาในแง่ของการศึกษา การรับรู้ แบบแผนการแสดงออก วัฒนธรรมทางการเมืองที่ปรากฏ รวมถึง
ความเชื่อค่านิยมที่เป็นภูมิหลังทำาให้บุคคลนั้นแสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา ซึ่งผู้วิจัยจะใช้ประเด็นการศึกษา
ตามการทบทวนเอกสารข้างต้นพัฒนาเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอผลการศึกษาต่อไป
3.4 กรอบแนวคิดในกำรศึกษำ
บริบททางการเมือง บรรยากาศทางการเมือง ความเคลื่อนไหว
วัฒนธรรมการเมือง และความเคลื่อนไหว และพฤติกรรม
บริบทนักการเมือง ทางการเมือง ทางการเมือง
• บทบาทของหน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น
• พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ
• การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง
• ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง
ที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์
ความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษา จังหวัดกาฬสินธุ์”