Page 62 - kpiebook63007
P. 62

62       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์







             3.3 งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง



                      งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมีหลากหลายส่วนใหญ่จะพูดถึงพฤติกรรมของประชาชน โดยได้
             ระบุถึงการศึกษาพฤติกรรมในลักษณะของการตัดสินใจเลือก ปัจจัยแห่งความสำาเร็จของพรรคการเมืองที่ชนะ

             การเลือกตั้ง งานวิจัยของสุรพล พรมกุล และคณะ (2557) ได้ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา

             ผู้แทนราษฎร พบว่า แบบแผนการตัดสินใจนั้น ประชาชนเลือกพรรคและบุคคลเป็นจำานวนมากที่สุด ในขณะที่
             เหตุผลในการเลือกตัวบุคคล ประชาชนเลือกผู้สมัครที่เข้าใจปัญหาคนในพื้นที่เป็นจำานวนมากที่สุด และเหตุผลใน
             การเลือกพรรคประชาชนเลือกพรรคเพราะชอบหัวหน้าพรรคเป็นจำานวนมากที่สุด สอดคล้องกับการศึกษาของ

             ปริวรรณ ธาราฤดี (2555) ได้ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของนักศึกษามหาวิทยาลัย

             เชียงใหม่ มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกไปใช้สิทธิของนักศึกษา โดยไม่เฉพาะเจาะจงศึกษา
             การเลือกตั้งเป็นครั้งคราว แต่จะเน้นศึกษาโดยภาพรวมของการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
             การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีกทั้งยังศึกษาปัจจัย

             ที่มีผลต่อการตัดสินใจในการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งศึกษาปัญหา

             และอุปสรรคในการออกไปใช้สิทธิของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยทำาการเก็บตัวอย่าง จำานวน 155 คน
             ซึ่งทำาการสุ่มแบบบังเอิญจากกลุ่มประชากรคือ นักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเครื่องมือคือ แบบสอบถาม
             ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่

             เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และเขตพื้นที่ที่เคยออกไปใช้สิทธิอยู่ในภาคเหนือ ส่วนเพศ ชั้นปี และระดับรายได้ ไม่ค่อย

             มีผลต่อการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง โดยให้ค่าที่ใกล้เคียง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการย้ายทะเบียนบ้านของนักศึกษา
             ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกไปใช้สิทธิมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยด้านสังคม จิตวิทยา ส่วนในด้านปัจจัยส่วนตัว
             และปัจจัยทางด้านการเมืองและกฎหมาย อยู่ในระดับปานกลาง และในส่วนใหญ่ของปัญหาและอุปสรรคนั้น

             ที่มีค่ามากที่สุดในแต่ละด้าน ได้แก่ ผู้ลงสมัครไม่มีความรู้ความสามารถตามที่คาดหวังความรู้สึกเบื่อหน่ายต่อ

             การเมืองและมีการจัดการเลือกตั้งบ่อยครั้ง จนเบื่อหน่ายและเพิกเฉยต่อการออกไปใช้สิทธิ นอกจากนี้ในการ
             ศึกษาของสติธร ธนานิธิโชติ (2562) ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนชาวไทยจาก
             ข้อค้นพบในงานศึกษาวิจัยที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่ามีความแตกต่างกันตามภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมหลาย

             ประการ โดยเฉพาะในเรื่องระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ (รายได้) และเขตที่อยู่อาศัย (เมือง-ชนบท)

             โดยผลการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่พบสอดคล้องกันว่าคนที่มีการศึกษาสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และอาศัยอยู่ใน
             เขตเมืองในประเทศไทยมักให้ความสนใจ/ให้ความสำาคัญกับการออกไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งน้อยกว่าคนที่มี
             การศึกษาน้อยกว่า มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดี และอาศัยอยู่ในเขตชนบท แต่ในการออกไปใช้สิทธิของผู้มีการ

             ศึกษาสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และเป็นคนเมืองแต่ละครั้งมักออกไปลงคะแนนด้วยจิตสำานึกทางการเมืองที่สูง

             กว่า และมีการตัดสินใจโดยใช้เหตุผลที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตยมากกว่า นอกจากนี้ งานวิจัยหลายชิ้นยัง
             พบอีกด้วยว่าประชาชนชาวไทยในแต่ละภาคมีทัศนคติเกี่ยวกับการเมืองและมีพฤติกรรมการลงคะแนนเพื่อเลือก
             ผู้สมัคร/พรรคการเมืองที่แตกต่างกัน ซึ่งหากมีการศึกษาวิเคราะห์เพื่อพิสูจน์ซำ้าข้อค้นพบเหล่านี้เพิ่มเติม ก็น่าจะ

             มีประโยชน์ต่อการทำาความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนชาวไทยได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67