Page 59 - kpiebook63007
P. 59
59
3.2 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
3.2.1 ควำมหมำยของพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง
พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งเป็นพฤติกรรมทางการเมือง อันเป็นรูปแบบของการมีส่วนร่วมทาง
การเมืองอย่างหนึ่ง การศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในระบบการเมืองต่าง ๆ นั้น แง่มุมหนึ่ง
นับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะทำาความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกระบวนการปกครองได้รับการกล่าวถึง
ว่าเป็นหัวใจของกิจกรรมทางการเมืองทุกระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
นักรัฐศาสตร์หลายท่านได้ให้ข้อสังเกตว่า การเลือกตั้งในปัจจุบัน นับวันแต่จะมีความซับซ้อน (สมพันธ เตชะอธิก,
2553) ซึ่งปัจจุบันแม้จะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับประชาธิปไตยมากขึ้น ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบโรงเรียน
และการศึกษาตามอัธยาศัย แต่ความรู้ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับสาระหลักการกว้าง ๆ ซึ่งมองไม่เห็นภาพ
ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น ไม่สามารถเรียบเรียงเหตุการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในภูมิลำาเนาที่ตนเองอาศัย จึงเกิด
ความรู้สึกว่า การเมืองเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของชนชั้นนำาเป็นเรื่องของนักการเมือง (สถาบันพระปกเกล้า, 2556)
รูปแบบ/ลักษณะของพฤติกรรมการเลือกตั้ง หมายถึง การเลือกตั้งที่ให้ความสำาคัญกับจำานวนผู้แทน
ที่จะได้รับการเลือกตั้งกับเขตพื้นที่ที่มีการเลือกตั้ง ซึ่งมีการนำาคะแนนที่ประชาชนได้ลงคะแนนในเขตนั้นมารวมกัน
เพื่อกำาหนดว่าใครจะเป็นผู้แทนของเขตนั้น
นักวิชาการในประเทศไทยที่ได้กล่าวถึงคำาว่าพฤติกรรมมีหลายคน อาทิ สุรพล พรมกุล และ
ทองแพ ไชยตันเชือก (2557) กล่าวว่าปัจจัยทางสังคม เป็นสิ่งที่บุคคลที่มีส่วนสำาคัญที่สุดที่ทำาให้ไปใช้สิทธิ
เลือกตั้งคือสามี/ภรรยา และสื่อประชาสัมพันธ์คือโทรทัศน์ ปัจจัยทางการเมืองคือคุณลักษณะของหัวคะแนน
และด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร พฤติกรรมการเลือกตั้งคือเหตุผลในการเลือกพรรคที่ตนชอบในหัวหน้าพรรค
สอดคล้องกับ หัสดิน แก้ววิชิต (2559) พฤติกรรม เป็นคำาที่ใช้โดยทั่วไปในสังคม รวมทั้งในศาสตร์ด้านต่าง ๆ
เป็นคำาที่ใช้แทน การแสดงออกของบุคคลในบริบทต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุก ๆ คนในสังคม หากแต่ในทาง
วิชาการ จะสรุปว่าพฤติกรรมคืออะไร มีศาสตร์ใดศึกษาเรื่องพฤติกรรม การศึกษาพฤติกรรมเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อใด
นักวิชาการศึกษาประเด็นใดเกี่ยวกับพฤติกรรม
ในขณะที่นักวิชาการต่างประเทศอาทิ เลฟตัน และแบรนนอน (Lefton & Brannon,2008: 3) ได้แบ่ง
คำาว่า “พฤติกรรม” (Behavior) และ “กระบวนการทางจิต” (Mental processes) ออกจากกันอย่างชัดเจน
โดยสรุปว่า พฤติกรรม คือ การแสดงออกภายนอก เช่น การเคลื่อนไหว การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (การสนทนา)
และการตอบสนองทางอารมณ์หรือการแสดงออกทางอารมณ์ (การหัวเราะ หรือร้องไห้) นอกจากนี้ ยังรวมถึง
การทำางานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ หรือการทำางานของสมอง ซึ่งสามารถใช้
เครื่องมือตรวจสอบได้ ในขณะที่กระบวนการทางจิต คือ กระบวนการคิดและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้
เหตุและผล สอดคล้องกับคิง (King, 2011: 4) ได้แบ่งความหมายของพฤติกรรม หมายถึง การกระทำาทุกอย่าง