Page 61 - kpiebook63007
P. 61

61







                          3.2.2 องค์ประกอบของพฤติกรรมกำรเลือกตั้ง



                          องค์ประกอบของพฤติกรรมการเลือกตั้ง เป็นส่วนหนึ่งที่สำาคัญที่จะทำาให้การศึกษาพฤติกรรมมี
                  ความคลอบคลุมทุกมิติของการศึกษามากยิ่งขึ้น มีนักวิชาการที่ได้ศึกษาถึงองค์ประกอบของพฤติกรรม

                  การเลือกตั้งหลากหลายประเด็นดังนี้


                          องค์ประกอบของพฤติกรรมการเลือกตั้ง หมายถึง ลักษณะหรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
                  การเลือกตั้งที่ประชาชนแสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นภาษากาย ภาษาใจ ความรู้สึกและเครื่องแสดงพฤติกรรมของ

                  บุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ พฤติกรรมจะประกอบไปด้วยการกระทำาหรือการแสดงออกที่สามารถสังเกตได้โดยตรง
                  และกระบวนการทางจิตที่ไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง (Coon & Mitterer, 2013: จิราภรณ์ ตั้งกิตติภาภรณ์,

                  2556) โดยองค์ประกอบของพฤติกรรมมี 2 องค์ประกอบดังนี้

                          •   พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) คือ การกระทำาหรือปฏิกิริยาทางร่างกายที่ทั้งเจ้าตัวและ

                              บุคคลอื่นสามารถสังเกตผ่านอวัยวะรับสัมผัส/ประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น หรือผิวหนัง)


                          •   พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) คือ กระบวนการที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล โดยรู้สึกตัวหรือ

                              ไม่รู้สึกตัวก็ตาม เป็นกระบวนการที่ไม่สามารถสังเกตได้และไม่สามารถใช้เครื่องมือวัดได้โดยตรง
                              หากเจ้าของพฤติกรรมไม่บอก (บอกกล่าว เขียน หรือแสดงท่าทาง) ได้แก่ ความคิดอารมณ์ความ
                              รู้สึก ความจำาการรับรู้ ความฝัน รวมถึง การรับสัมผัสต่าง ๆ เช่น การได้ยิน การได้กลิ่นทางผิวหนัง

                              เป็นต้น


                          พฤติกรรมทางการเลือกตั้ง เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับทางเลือกต่าง ๆ ที่จะนำาไปปฏิบัติโดยอาศัย
                  ประสบการณ์ในการประเมินทางเลือกที่ดีที่สุด (เสาวนีย์ ศิริพจนานนท์,2556) สอดคล้องกับ กาญจนา พันธุ์เอี่ยม

                  และคณะ (2556) ที่ได้กล่าวว่า พฤติกรรมการเลือกตั้ง คุณลักษณะ องค์ประกอบ หน้าที่ ประโยชน์และการเกิด
                  ทัศนคติหรือเจตคติ (Attitude) เป็นความเชื่อ ความรู้สึกและเครื่องแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ


                           ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2557) กล่าวว่า พฤติกรรมทางการเมืองของบุคคล อาทิเช่น การเข้าไปมีส่วนร่วม

                  ในทางการเมืองในระดับต่าง ๆ การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การช่วยพรรคการเมืองหาเสียง การลงสมัคร
                  รับเลือกตั้ง การเดินขบวนหรือแสดงออกซึ่งการคัดค้านรัฐบาล การเลือกพรรคการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด การเลือก

                  อุดมการณ์ทางการเมืองที่เห็นว่าดีที่สุด รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้นำาการเมือง เป็นต้น พฤติกรรมทางการเมือง
                  ที่มีลักษณะเด่นคือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง


                          จากการทบทวนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องสามารถสรุปความหมายของคำาว่า องค์ประกอบของ

                  พฤติกรรมทางการเมืองของงานวิจัยนี้ได้ว่า ความเคลื่อนไหวทางการเมืองในระดับพื้นที่ ความรู้ ความเข้าใจ
                  ถึงแบบแผนพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน บทบาทหน้าที่ของภาคประชาชนและภาคการเมือง ซึ่งมี

                  ความสำาคัญในการนำาไปสู่การพัฒนาการเมืองการปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตย
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66