Page 54 - kpiebook63007
P. 54

54       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์








             ความเป็นอิสระมากพอควร และในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พลังที่มีผลในการผลักดันการเปลี่ยนแปลง

             ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง หรือวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อทางสังคม ย่อมมาจากโครงสร้าง
             ส่วนบน (รัฐ-กลไกของรัฐ) เป็นด้านหลัก และจากพลังส่วนอื่น ๆ นอกกลไกของรัฐเป็นด้านรอง


                      ทินพันธุ์ นาคะตะ ได้สรุปลักษณะอุดมการณ์และพฤติกรรมทางการเมืองของคนไทย ที่สำาคัญดังนี้

             (ทินพันธุ์ นาคะตะ, 2534 : 36-41 อ้างถึงใน สมบัติ ธำารงธัญวงศ์, 2549 : 711-714)


                      1) ลักษณะอ�านาจนิยม


                        คนไทยส่วนใหญ่จะชอบการใช้อำานาจเด็ดขาด เคารพเชื่อฟังและอ่อนน้อมต่อผู้มีอำานาจ รวมทั้ง
             มอบอำานาจและความรับผิดชอบในทุกอย่างไว้ที่ผู้นำา ไม่ว่าระบบการเมืองระดับชาติหรือครอบครัว มักจะรวม
             อำานาจไว้ที่ผู้นำา การทำางานจึงมีลักษณะสั่งการจากเบื้องบนลงมาเบื้องล่างมากกว่าจะริเริ่มจากเบื้องล่าง


                      2) นิยมระบบเจ้านายกับลูกน้อง


                        ในสังคมไทย คนส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มพวกพ้องกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเสมอ ผู้นำาจะเป็นผู้มีอำานาจวาสนา

             มีบารมี ต้องสามารถให้ความคุ้มครองและให้ผลประโยชน์แก่ลูกน้องได้ ส่วนลูกน้องจะต้องให้การสนับสนุนและ
             บริการแก่นาย ระบบเจ้านายกับลูกน้องในสังคมไทยจะปรากฏในระบบราชการและระบบการเมืองว่าการเป็น

             เจ้านายคนได้รับการยกย่องมาก


                      3) ยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าหลักการ


                        ลักษณะของคนไทยจะยึดมั่นในตัวบุคคลมากกว่าจะยึดมั่นในอุดมการณ์ กล่าวคือ จะให้ความสนใจ
             กับสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือสภาพความเป็นจริงโดยไม่ยาก โดยเฉพาะเรื่อง

             ที่ตนได้รับประโยชน์อย่างชัดเจน

                      4) การจัดล�าดับฐานะในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล


                        ระบบศักดินาทำาให้มีการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยให้รู้จักที่ตำ่าที่สูง ไม่ควรตีตนเสมอผู้ใหญ่ คนไทย

             ยึดถือสิ่งที่ติดตัวมา เช่น ชาติวุฒิ วัยวุฒิ และคุณวุฒิ มากกว่าความสามารถของบุคคล บุคคลที่มีคุณสมบัติเหล่านี้

             ถือได้ว่าเป็นผู้ใหญ่ที่ผู้น้อยจะต้องให้ความเคารพเชื่อฟัง การยึดมั่นในค่านิยมเหล่านี้ทำาให้คนไทยยอมรับความ
             เสมอภาคของบุคคลได้ยากทั้งในแง่หลักการและการปฏิบัติ


                      5) ความเป็นอิสระนิยม


                        คนไทยรักความเป็นอิสระ ชอบทำาอะไรตามลำาพังตนเอง ไม่ชอบการถูกบังคับหรือตกอยู่ภายใต้
             การออกคำาสั่งของบุคคลอื่น ขาดระเบียบกฎเกณฑ์ในการดำารงชีวิต ขาดระเบียบวินัย ทำาให้ต่างคนต่างอยู่

             การรวมกลุ่มทางการเมืองเพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งจึงเป็นไปได้ยาก ความรับผิดชอบต่อสังคมยังมีน้อย
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59