Page 50 - kpiebook63007
P. 50

50       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดกาฬสินธุ์





          ศรีสะเกษส่วนใหญ่มีความนิยม พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร สูงมาก ส่งผลให้ผู้สมัคร ส.ส.ที่สังกัดพรรคไทยรักไทย

          พรรคพลังประชาชน และพรรคเพื่อไทยมีโอกาสสูงที่จะได้รับการเลือกตั้ง ในขณะที่ผู้สมัครพรรคการเมืองอื่นต้อง
          ต่อสู้แข่งขันอย่างหนักหากต้องการได้รับชัยชนะ โดยเฉพาะการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (แบบแบ่งเขต)

          เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 พบว่า จากจำานวน ส.ส.ทั้งหมด 9 เขต พรรคไทยรักไทยชนะการเลือกตั้ง 8 เขต
          ส่วนอีก 1 เขตที่เหลือเป็นของผู้สมัครจากพรรคชาติไทย


                  ต่อมาการเลือกตั้ง ส.ส. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 ก่อนที่จะถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เป็นโมฆะ

          พบว่า ผู้สมัคร ส.ส.จากพรรคไทยรักไทย ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครบทั้งจังหวัด 9 คน จากทั้งหมด 9 เขต


                  แม้กระทั่ง ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
          ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้า ส่งผลให้
          พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต้องเดินทางออกนอกประเทศ อีกทั้งพรรคไทยรักไทยถูกศาลรัฐธรรมนูญ สั่งยุบพรรค

          เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2550 และมีการเลือกตั้งใหม่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำาหนดให้มีการแบ่ง

          เขตเลือกตั้งใหม่ จากแบบเขตเดียวเบอร์เดียวเปลี่ยนมาเป็น 3 เขตเลือกตั้ง เขตหนึ่งมีจำานวน ส.ส.ได้ 3 คน
          ซึ่งสมาชิกพรรคไทยรักไทยเดิมได้ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชาชน ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้การสนับสนุน
          โดย กกต.กำาหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ผลปรากฏว่า พรรคพลังประชาชนได้รับ

          เลือกตั้งทั้งหมด 7 คน จากทั้งหมด 9 คน และล่าสุด ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป เมื่อวันที่

          3 กรกฎาคม พ.ศ.2554 ก็ปรากฏว่าพรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง 7 เขต จากทั้งหมด 8 เขตเลือกตั้ง และเป็น
          แกนนำาในการจัดตั้งรัฐบาลในที่สุด (ประเทือง ม่วงอ่อน, 2556 : 304-305)


                  ปรากฏการณ์ความนิยมในตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ดังกล่าว ชาร์ลส์ เอฟ คายส์ (Charles F. Keyes) (2552 :
          157) ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาคอีสานของประเทศไทย อธิบายว่า

          เป็นเพราะวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้คนในภูมิภาคนี้ที่แตกต่างไปจากที่อื่น ๆ โดยเฉพาะวัฒนธรรมการเมือง
          ของกลุ่มชนชั้นนำาที่สมาชิกของชนชั้นนี้ได้ครอบครองอำานาจการปกครองในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน และ

          แตกต่างจากวัฒนธรรมการเมืองของชนชั้นกลางที่ประกอบด้วยคนไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มหลัก ความแตกต่าง
          อย่างเด่นชัดในด้านวัฒนธรรมทางการเมืองนี้เองที่เป็นพื้นฐานสำาคัญที่ทำาให้ผู้คนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

          สนับสนุนพรรคไทยรักไทยของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตรในการเลือกตั้งในช่วงปีแรก ๆ ของศตวรรษที่ 21 และ
          ต่อเนื่องมาจนถึงพรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย รวมทั้งการเกิดปรากฏการณ์แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้าน

          เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ “คนเสื้อแดง” ในช่วงปี พ.ศ. 2551 – 2555


                  กล่าวโดยสรุป ปัญหาการเลือกตั้งที่สำาคัญที่สุดของการเมืองไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ
          การซื้อสิทธิ-ขายเสียง อย่างไรก็ตาม “เงิน” ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เพียงพอที่จะตัดสินการเลือกตั้ง ขึ้นอยู่กับปัจจัย

          อื่น ๆ ประกอบด้วย โดยในช่วงหลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา พบว่า ปัจจัยเรื่องพรรคการเมืองที่สังกัดมีอิทธิพล
          สำาคัญที่จะตัดสินว่าผู้สมัครคนใดจะชนะหรือแพ้การเลือกตั้งด้วยเช่นกัน
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55